วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มาตรการป้องกันเพื่อนลดก๊าสเรือนกระจก

สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 จนถึงกรกฎาคม 2548 รวม 19 เดือนที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบไปทุกด้าน ประชาชนผู้บริสุทธิ์ เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายต่างๆ รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงต่างบาดเจ็บล้มตายไปแล้วร่วมพันคน
การฆ่าโดยไม่จำแนกเป้าหมาย ทั้งประชาชนทั่วไป ทั้งพุทธและมุสลิม ก่อให้เกิดความหวาดกลัว ความสับสน ความแตกแยก การกล่าวร้ายต่อกัน ไปทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขยายสู่สังคมไทยผ่านสื่อต่างๆ ออกไปอย่างต่อเนื่อง
ขณะนี้ได้เริ่มเกิดวงจรของการใช้ความรุนแรงตอบโต้ซึ่งกันและกัน และกลายเป็นกระแสความคิด ที่เข้าไปครอบงำความคิดของผู้คนในสังคม ทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และในส่วนอื่นของประเทศ
สถานการณ์มีแนวโน้มของการตอบโต้ ทำร้ายซึ่งกันและกัน และกระทำต่อผู้บริสุทธิ์กลุ่มต่างๆ ด้วยความรุนแรงมากขึ้น
ในขณะที่การประกอบอาชีพเพื่อปากท้องของชาวบ้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาร่วมปีเศษ ถูกซ้ำเติมด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มถดถอยลงของประเทศ น้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มีราคาแพง ภาวะข้าวยาวหมากแพงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้น
จึงเกิดคำถามว่า เราจะร่วมกันแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ที่เลวร้ายซึ่งเกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร ตาต่อตา ฟันต่อฟัน สันติวิธี สมานฉันท์หรืออื่นๆ
กลุ่มคนเป้าหมายที่จะดำเนินการคือใคร อยู่ที่ไหน จะค้นหาได้อย่างไร
จะเริ่มต้นที่จุดไหน กับใครอย่างไร เพื่ออะไร
และมีหลักประกันอะไรที่จะทำให้เชื่อได้ว่าจะเป็นหนทางสู่การสร้างสันติสุขที่ยั่งยืน
ทางออกปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทางหนึ่งคือ การทบทวนบทเรียนจากอดีต การอธิบายสาเหตุของปัญหา ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันจากข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จากเอกสาร ทรรศนะ ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปสู่การตั้งประเด็น หรือการตั้งข้อสมมุติฐานถึงสาเหตุของปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สาธารณชนและสังคมไทยได้มาร่วมกันตั้งคำถาม ได้มาร่วมกันตรวจสอบ ได้มาร่วมกันแสวงหาพยานหลักฐานต่างๆ มายืนยัน เกี่ยวกับสาเหตุแท้จริงของปัญหา และกลุ่มคนที่ก่อความรุนแรงในปัจจุบัน
อันอาจจะช่วยให้สังคมไทยได้มีสติ หลุดพ้นจากการกล่าวร้าย แตกแยก หวาดระแวงต่อกันได้ในระดับหนึ่ง
บทเรียนการแก้ปัญหาในอดีต (พ.ศ.2489-2526)
เมื่อปี 2490 ยอมรับความต่างทางวัฒนธรรม และปรับปรุงประสิทธิภาพข้าราชการ
จากรายงานการปฏิบัติของคณะกรรมการสอดส่องสภาวการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2490 เพื่อสืบสวน เสนอแนะปรับปรุงสถานการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ มีข้อสรุปว่า ราษฎรทั่วๆ ไปประกอบอาชีพโดยสงบ ความเคลื่อนไหวเนื่องจากบุคคลชั้นหัวหน้าชาวไทยอิสลามเป็นผู้ปลุกปั่น หนักไปในทางชาตินิยม มูลเหตุการเคลื่อนไหว คงได้รับความกระทบ กระเทือนจิตใจครั้งแรกเมื่อทางราชการกวดขันเรื่องวัฒนธรรม สมัยสงครามและหลังสงครามราษฎรประสบความยากแค้น ประกอบกับความเสื่อมทรามของเจ้าหน้าที่ และได้เห็นทางมลายูอิสลามด้วยกันกลับมีความสุข
คณะกรรมการสอดส่องสภาวการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้ติดต่อกับหัวหน้าชาวไทยอิสลามเพื่อชี้แจงซักซ้อมความเข้าใจ และได้เสนอแนวทางการปรับปรุงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อแจ้งกระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไปเช่น
ให้กระทรวงมหาดไทย แจ้ง 4 จังหวัดภาคใต้ผ่อนคลายเรื่องการแต่งกายของราษฎร โดยแนะนำให้แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยม
การสร้างสุเหร่าหลวง
การผ่อนคลายในเรื่องประกอบพิธีทางศาสนา และร่วมมือในพิธีสำคัญตามควรเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และศีลธรรมอันดีของท้องถิ่น
การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ เฉพาะอย่างยิ่งที่มีหน้าที่ติดต่อกับราษฎร ควรเลือกเฟ้นเป็นพิเศษ ให้มีคุณสมบัติ มีพื้นความรู้ภาษาพื้นเมือง ตลอดจนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นผู้รู้จักเคารพนับถือของมาก่อนหรือคนที่มีคุณสมบัติ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องถือว่ามีความสำคัญเกี่ยวกับความไว้วางใจของราษฎรและการรักษาความสวัสดิภาพของประชาชน
ตั้งกรรมการสอบสวนคำร้องทุกข์ของชาวไทยอิสลามใน 4 จังหวัดภาคใต้
ปี 2525-2526 นโยบายชัดเจน ข้าราชการมีความเสียสละ
จากงานศึกษาวิจัยเรื่องการปกครองท้องที่ต่างวัฒนธรรม : สถานการณ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และคณะพบว่าสถานการณ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เลวร้ายลง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 ได้คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นในปี 2525-2526 เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และสอดคล้องกัน ทั้งด้านการปราบปรามและการพัฒนา รวมทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับต่างประเทศ การปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ และการเข้าถึงประชาชน การสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้นำศาสนา การปราบปรามกลุ่มโจรหลักคือ ขจก. จคม. และ ผกค.อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
แต่เงื่อนไขสำคัญในการแก้ไขปัญหาคือ การที่ข้าราชการได้เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม หันมาทำงานร่วมกับประชาชนและมีความเสียสละในการทำงานมากขึ้น
การศึกษาครั้งนั้นได้คาดหวังว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการในพื้นที่ จะได้รับการผลักดันให้ดีขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
ที่น่าสนใจก็คือ การศึกษาครั้งนั้นได้พยากรณ์ไว้ว่า ปัญหาสำคัญของการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งความขัดแย้งของผู้นำหน่วยงานของทางราชการด้วยเหตุผลทางการเมือง
นโยบายรัฐขัดแย้งในตัวเองมาอย่างยาวนาน ทำให้ปัญหายังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน
บทเรียนในอดีตที่น่าสนใจคือ การศึกษานโยบายของรัฐเพื่อสร้างบูรณาการทางการเมือง ต่อชาวมาเลย์มุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระหว่าง พ.ศ.2343-2524) โดยพนมพร อนุรักษา ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยออสตินแห่งเท็กซัส เมื่อปี 2527 ที่ระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลตั้งใจดีที่จะทำให้เกิดความสงบสุข แต่ในข้อเท็จจริงนโยบายของรัฐบาลมีลักษณะที่ขัดแย้งในตัวเองมาอย่างยาวนาน
ด้านหนึ่งพยายามส่งเสริมสวัสดิการชาวไทยมุสลิมด้านศาสนา
แต่อีกด้านหนึ่งพยายามไม่สนับสนุนสิ่งที่เป็นความต้องการที่แท้จริงของชาวไทยมุสลิม เช่น การรักษาชาติพันธุ์และความเป็นมุสลิม
ส่วนนโยบายด้านเศรษฐกิจก็ได้พยายามดึงคนมุสลิมเข้าสู่เศรษฐกิจไทย โดยเน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ละเลยพื้นที่ยากจน เน้นการสร้างความมั่นคงมากกว่าการแก้ไขความยากจนของคนชนบท
ปัจจุบัน : พลวัตปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป (พ.ศ.2533-2547)
ส่วนแรกคือ : อัตลักษณ์ของพื้นที่ถูกคุกคาม ปัญหาเดิมที่ดำรงอยู่
ข้อสรุปที่น่าสนใจคือ ผลการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเรื่อง ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 หลังเหตุการณ์กรือเซะ 28 เมษายน 2547 เพียง 15 วัน ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ที่ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ โดยแก่นสารเป็นปัญหาที่เกิดจากความรู้สึกว่า วิถีชีวิต วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ถูกคุกคาม การตกอยู่ในกับดักทางประวัติศาสตร์ ปัญหาลัทธิพัฒนา ลัทธิพาณิชยนิยมที่กระทบต่อศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และปัญหาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย
ส่วนที่สอง การต่อสู้และการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มใหม่ : ปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักฐานที่พอจะยืนยันอธิบายได้ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2533-2547) คือ
ปี 2533 การชุมนุมประท้วงที่มัสยิดกรือเซะ : การปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ได้เขียนไว้ในบทความ กรือเซะ เวทีแห่งการปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์ครั้งใหญ่ของชาวมุสลิม ในสารคดี 10 (2) ปี 2537 สรุปว่า การชุมนุมประท้วงที่กรือเซะ เมื่อเดือนมิถุนายน 2533 เป็นผลจากความพยายามต่อรองทางเอกลักษณ์มุสลิม กับสังคมไทยโดยรวม และมีบทเรียนสำคัญที่พึงระมัดระวังคือ การทำความเข้าใจว่าเหตุใดชาวมุสลิมจำนวนมากจึงถูกชักนำเข้าร่วมการประท้วงที่กรือเซะ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยมุมมองใหม่เกี่ยวกับการปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำนาน คำสอนและความเชื่อทางศาสนา ที่เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหว มีการปะทะต่อรองครั้งแล้ว ครั้งเล่าของกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ เพื่อกำหนดหรือขยายอาณาเขตทางวัฒนธรรม และในบางครั้งหมายถึงการลดทอนอาณาเขตของวัฒนธรรมอื่น
ปี 2536 ปฏิบัติการของคนรุ่นใหม่
ข่าวพิเศษ อาทิตย์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 844 (135) ปี 2536 ได้นำเสนอแนววิเคราะห์กรณีการเผาโรงเรียน 34 โรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2536 ว่า
...เน้นน้ำหนักไปที่คนรุ่นใหม่ ที่มีจิตใจโน้มเอียง ชื่นชมการต่อสู้ของอิหร่านที่เคร่งครัดต่อวิถีของชาวมุสลิม กลุ่มคนหนุ่มเหล่านี้ไม่มีแกนนำที่เด่นชัด การรวมตัวยังอยู่ในรูปหลวมๆ ที่แยบยล มีอุดมการณ์ว่า มุสลิมแท้ต้องไม่ประนีประนอมกับอำนาจรัฐ แต่ปรากฏการณ์ที่กรณีการเผาโรงเรียนไม่ใช่การกระทำของ ขจก.แน่ เพราะคนป่า จะไม่ทำงานเป็นระบบเช่นนี้ อีกทั้งมีความละเมียดละไมที่จะไม่ทำร้ายชีวิตประชาชนแสดงความไม่ต้องการปัจจัยมวลชน แนววิเคราะห์พุ่งเป้าไปในจุดสุดท้ายว่า อาจมีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มคนหนุ่มเคร่งอุดมการณ์การต่อสู้เพื่ออิสลามเหล่านี้ จะกระทำการวินาศกรรมขึ้นเพียงเพื่อประท้วงผู้นำการต่อสู้รุ่นเก่าที่หันไปเดินแนวทาง "ในระบบ" คือการต่อสู้ทางรัฐสภา...
ปี 2547 ขบวนการต่อสู้เพื่อชาติพันธุ์ ที่ใช้ความเชื่อและความรุนแรงเป็นอาวุธ
ความเป็นมลายู
เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน ได้กล่าวไว้ในบทสนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์สากล ความเป็นไปในอุษาคเนย์สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ในวารสารฟ้าเดียวกัน 2 (3) ปี 2547 ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาขาดการยอมรับด้านชาติพันธุ์มลายูของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน่าสนใจว่า
...กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาส่วนหนึ่งคือรัฐไทยและผู้นำไทยมองดูพวกที่ยะลาและที่อื่นๆ ว่า นี่เป็นคนไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เขาไม่ได้บอกว่านี่เป็นราษฎรไทยที่เป็นมลายู ที่นี้เลยทำให้คนที่มองดูจากภายนอกงงมากเลยว่า มีอิสลามที่กรุงเทพฯ มีอิสลามที่เชียงใหม่ มีอิสลามที่ขอนแก่น มีอิสลามทั่วประเทศ ถ้าอันนี้เป็นปัญหาของอิสลาม ทำไมถึงเกิดเรื่องขึ้นที่สามจังหวัดเท่านั้น อธิบายไม่ได้ เมื่อรัฐบาลไม่ยอมรับความเป็นมลายู ไม่ยอมรับภาษามลายู คนที่นั่นจึงต้องใช้อาวุธอิสลาม..."
ขบวนการเคลื่อนไหวแบบใหม่
ขณะเดียวกันอาจารย์จรัล มะลูลีม ได้สรุปในมติชนรายสัปดาห์ ฉบับที่ 24 (1261) ปี 2547 ว่า
...ขณะนี้เราต้องเผชิญกับขบวนการลับ ที่มีชื่อว่า ฎอริกัต ฮิกมะตุลลอฮ์ อะบาดา (แนวทางแห่งวิทยปัญญาของพระเจ้าชั่วนิรันดร์) ขบวนการลับนี้การทำงานอย่างเป็นระบบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ไปตามสถานการณ์ไม่ได้มีความผูกพันกับขบวนการเดิมที่อ่อนกำลังลงไป สามารถเชิญชวนผู้คนโดยเฉพาะเด็กหนุ่มทั้งที่มีระดับสมองดี สมองปานกลาง และหลงใหลในชีวิตเหนือจริง เข้าร่วมขบวนการได้จำนวนมาก โดยอาศัยเงื่อนไขทางสังคมที่พูดซ้ำกันครั้งแล้วครั้งเล่า นั่นคือการแสดงอำนาจ การกดขี่ การอุ้ม ฯลฯ ของเจ้าหน้าที่บางคนมาเป็นเงื่อนไข มีการนำหลักศาสนามาบิดเบือน มีการกล่าวว่า การกระทำของพวกเขานั้น เป็นการต่อสู้เพื่อพระเจ้า..."
ความเชื่อและการใช้ความรุนแรง
การอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การใช้ความรุนแรงต่อประชาชนคนทั่วไปที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถอธิบายได้ จากเอกสารเบอร์จีฮาด ดิ ปัตตานี (การต่อสู้ที่ปัตตานี) ที่มีการระบุให้แบ่งแยกคนในสังคม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มแรกคือ ผู้ที่เห็นด้วยกับการต่อสู้ตามแนวทางของกลุ่มใช้ความรุนแรง
กลุ่มที่สองคือ บรรดามุสลิมผู้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพวกเขาเป็นคนทรยศ คนกลับกลอก
กลุ่มที่สามคือ คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นคนนอกศาสนา คนในกลุ่มที่สองและสามจึงกลายเป็นเป้าหมาย เป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งนับวันจะขยายตัวบานปลายออกไปเรื่อยๆ
ซึ่งทางออกคงไม่ใช่ตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ในการร่วมกันปกป้องผู้บริสุทธิ์ และลงโทษผู้ใช้ความรุนแรง ตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด และเที่ยงธรรม รวมทั้งทำความเข้าใจกับคนส่วนใหญ่ ให้สามารถแยกแยะและเห็นซึ้งถึงผลเสียจากการใช้ความรุนแรง ซึ่งในที่สุดแล้ว ทุกคนก็คือผู้ที่จะต้องร่วมรับความเสียหาย ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ทางออกของปัญหา
ท่ามกลางความหวาดระแวง ความกลัวในปัจจุบัน
สถานการณ์ในพื้นที่ ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่เชื่อถือ ความหวาดระแวงต่อกันเป็นเชื้อ เป็นเมล็ดพันธุ์ของการกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อกัน อย่างขาดสติมากขึ้น
ทางออกสำคัญที่ขอเชิญชวนทุกฝ่ายคือ การมาช่วยกันแก้ปัญหาพื้นฐานของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาของปริญญา อุดมทรัพย์และคณะ เมื่อปี 2545 ในพื้นที่ อ.สายบุรี อ.เมืองปัตตานี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี อ.เบตง อ.บันนังสตา อ.รามัน จ.ยะลา อ.ตากใบ อ.บาเจาะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 9 อำเภอ ผ่านเวทีชาวบ้านรวม 13 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ชาวบ้านทั้งพุทธ มุสลิม ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 60 คนต่ออำเภอ รวม 589 คน พบว่า
ปัญหาสำคัญของชาวบ้านทุกศาสนิกคือ ปัญหาความยากจนของแรงงานรับจ้างก่อสร้าง กรีดยาง
ปัญหาเยาวชนว่างงาน เพราะไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพ
ปัญหาเงาะ ทุเรียน ลองกอง ราคาตกต่ำ ล้นตลาด
ชาวบ้านไม่มีสิทธิในที่ดินทำกินของตนเองเพราะที่ดินทำกินซ้อนทับกับเขตป่าสงวน เขตอุทยานแห่งชาติ
ปัญหาหลักสูตรการศึกษาไม่สอดคล้องกับท้องถิ่นด้านการเกษตร ไม่มีความรู้เรื่องอาชีพท้องถิ่น การศึกษาภาคฟัรฏูอีน (ภาคบังคับของศาสนาอิสลาม) ขาดการสนับสนุนจากประชาชนและรัฐบาล
ยาบ้า กัญชา ยาแก้ไอ เหล้าแห้ง ยากันยุง กาว กระท่อม เฮโรอีน แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ของเจ้าหน้าที่ระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจสภาพสังคมและชุมชนที่รับผิดชอบ ไม่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น การกำหนดนโยบายไม่ได้มาจากปัญหาของราษฎรอย่างแท้จริง
เพราะแท้ที่จริงแล้ว "การแก้ไขปัญหาพื้นฐานของชาวบ้านคือการสร้างสันติภาพและเอกภาพของชาติที่ยั่งยืน" เป็นการสร้างทางเลือกให้กับประชาชนคนสามัญ โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความต้องการอุดมการณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องการที่จะดำรงชีวิตร่วมกันโดยปกติสุข มีการเคารพในสิทธิ เสรีภาพซึ่งกันและกันยอมรับในเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ซึ่งกันและกัน
แนวทางนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยตรง แต่จะช่วยคลี่คลายปัญหา ช่วยคลี่คลายความหวาดระแวง และประการสำคัญ ช่วยคลี่คลายความมุ่งมาดปรารถนาของการใช้กำลัง เพราะว่าการใช้กำลังไม่ว่าจากฝ่ายไหนก็ตาม ถ้าขาดเสียซึ่งฐานความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ไม่คิดว่าจะเป็นความยั่งยืน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศโดยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงและการตัดไม้ทำลายป่า แต่ในขณะเดียวกันการเจริญเติบโตของต้นไม้และป่าไม้ก็ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนสภาพให้เป็นมวลชีวภาพ (Biomass) กระบวนการนี้เรียกว่า การสะสมคาร์บอนหรือการกักเก็บ (Carbon Sequestration) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซมีเธนเกิดขึ้นจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาพที่ปราศจากออกซิเจน เช่น สภาพน้ำขังในนาข้าว การย่อยอาหารโดยการหมักในกระเพาะอาหาร (Enteric Fermentation) ของสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant Animals) นอกจากนี้ การบำบัดน้ำเสีย การกลบฝังขยะ ตลอดจนพื้นที่ชุ่มน้ำยังเป็นแหล่งการเกิดก๊าซมีเธนได้อีก นอกจากกระบวนการทางธรรมชาติแล้ว การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนยังทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ซึ่งถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศด้วย
ก๊าซเรือนกระจกชนิดต่าง ๆ มีอายุ และการแผ่รังสีความร้อน (Radiative Effect) ต่าง ๆ กัน เรียกว่า ศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (Global Warming Potentials - GWPs) นิยามของ GWPs คือ ความสามารถของก๊าซเรือนกระจกใด ๆ ในการทำให้เกิดความอบอุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำหนักเท่ากัน เช่นเมื่อพิจารณาในช่วงอายุหนึ่งร้อยปีพบว่า ก๊าซมีเธนและก๊าซไนตรัสออกไซด์ มีค่า GWPs เท่ากับ 210 และ 310 ตามลำดับ หมายความว่า ก๊าซมีเธนจำนวนหนึ่งตัน มีศักยภาพในการกักเก็บและแผ่รังสีความร้อน เท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 21 ตัน และก๊าซไนตรัสออกไซด์จำนวนหนึ่งตัน มีศักยภาพในการกักเก็บและแผ่รังสีความร้อน เท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 310 ตัน ส่วนก๊าซอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ของมนุษย์ เช่น สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอนนั้น มีศักยภาพสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 100 ถึง 1,000 เท่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523-2533 ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเธน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน และไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน ที่ถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศในแต่ละปีปริมาณ 26,000 , 300 , 6 , 0.9 และ 0.1 ล้านตัน ตามลำดับแต่เมื่อพิจารณาตามค่า GWPs แล้วพบว่า สัดส่วนของการทำให้โลกร้อนขึ้นของก๊าซมีเธน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน ดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 55 , 15 , 6 และ 4 ตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น