วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เมาไม่ขับ

อุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่ง ของการเสียชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในวัยหนุ่มสาว จากการคาดการณ์ หากไม่มีมาตรการรองรับแล้ว ในปีหน้า (พ.ศ. 2545) ตัวเลขผู้เสียชีวิต จากอุบัติเหตุบนท้องถนน จะพุ่งขึ้นสูงถึงกว่า 3 คนต่อชั่วโมง (มากกว่า 2.6 หมื่นคนต่อปี) และเป็นที่น่าเศร้าว่า สาเหตุส่วนใหญ่ กว่าครึ่งหนึ่ง เกิดจากผู้ขับขี่ที่มีอาการเมาสุรา จากการทดลอง หาความสัมพันธ์ระหว่างระดับแอลกอฮอลในเลือด กับโอกาสเกิดอุบัติเหตุพบว่า ผู้ที่มีแอลกอฮอลในเลือดสูงกว่า 50 มิลลิกรัม% จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ สูงกว่าผู้ไม่ดื่มสุราถึง 2 เท่า และหากสูงถึง 100 มิลลิกรัม% โอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นถึง 6 เท่า โครงการรณรงค์ “เมาไม่ขับ” จึงเกิดขึ้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ บนท้องถนน อันเนื่องมาจาก ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะในขณะที่มึนเมา หนึ่งในมาตรการตามโครงการนี้คือ การตั้งด่านตรวจระดับ แอลกอฮอลในเลือดของผู้ขับขี่ เพื่อให้ทราบว่าผู้ขับขี่ อยู่ในสภาพที่จะสามารถ ขับขี่ยวดยานพาหนะต่อไปได้อีกหรือไม่
การตรวจระดับแอลกอฮอล ในเลือดมีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจวัดทางลมหายใจ ตรวจวัดจากเลือด หรือจากปัสสาวะ ในทั้ง 3 วิธีนี้ วิธีการตรวจวัดทางลมหายใจ เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากทำได้สะดวกรวดเร็ว และสามารถ ทราบผลได้ทันที การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล จากลมหายใจ อาศัยหลักที่ว่า เมื่อกระแสเลือด ไหลไปที่ปอด เพื่อฟอกเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากร่างกาย แอลกอฮอลในกระแสเลือดบางส่วน จะซึมผ่านเข้าไปในปอดด้วย ระดับของแอลกอฮอลในปอด จะสัมพันธ์โดยตรงกับระดับแอลกอฮอลในเลือด เมื่อหายใจออก แอลกอฮอล จะถูกขับออกมาจากปอดเช่นเดียวกัน การวัดปริมาณแอลกอฮอลในลมหายใจ ทำได้หลายวิธี ได้แก่
วิธีเคมี วิธีนี้จะวัดโดยให้แอลกอฮอล รีดิวซ์โพแทสเซียมไดโครเมต (K2CrO7) ซึ่งมีสีแดงส้ม ในสภาวะที่มีกรดกำมะถันอยู่ด้วย ให้กลายเป็นโครเมียมซัลเฟต (Cr2(SO4)3) ซึ่งมีสีเขียว ความเข้มของสีที่เปลี่ยนไป จะสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณ แอลกอฮอล ในลมหายใจของผู้ถูกตรวจวัด ปริมาณแอลกอฮอลสูงขึ้น จะยิ่งทำให้สีเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มขึ้น
วิธีวัดการดูดกลืนรังสี วิธีนี้จะวัดโดยวัดการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ของแอลกอฮอลซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งทำให้ปริมาณรังสีอินฟราเรด ที่ผ่านไป มีความเข้มของรังสีลดลง ยิ่งมีปริมาณแอลกอฮอลในลมหายใจมาก การดูดกลืนรังสีจะยิ่งมากขึ้น เป็นสัดส่วนตามกัน เมื่อวัดความเข้มรังสีที่เปลี่ยนไป ก็จะทำให้ทราบว่า มีปริมาณแอลกอฮอลอยู่ในลมหายใจเท่าใด
วิธีเคมีไฟฟ้า วิธีนี้จะวัดปริมาณแอลกอฮอล โดยการให้แอลกอฮอลเกิดปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า เครื่องตรวจวัด ประกอบด้วย แผ่นพลาตินัมบางๆ 2 แผ่นขนานกัน และมีอิเลกโตรไลต์กรดอยู่ระหว่างกลาง แอลกอฮอลจะถูกดูดซับ อยู่บนแผ่นพลาตินัม และถูกออกซิไดซ์เป็นกรดอะซิติก (acetic acid) และให้อิเลกตรอนออกมา อิเลกตรอน ที่เกิดขึ้นจะไหลผ่านแผ่นพลาตินัม ผ่านไปยังเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป จะเป็นสัดส่วนโดยตรง กับปริมาณแอลกอฮอลในลมหายใจ
สุดท้ายนี้อยากฝากถึงผู้ขับขี่ทุกท่าน ให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า อุบัติเหตุที่เกิดความประมาท ขาดสติ ของคนเพียงคนเดียว อาจทำให้เกิดความสูญเสีย อย่างมหาศาล กับคนอีกเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้พวกเราทุกคน พร้อมใจกันปฏิบัติ ตามกฎจราจรโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย ของพวกเราทุกคนที่อยู่บนท้องถนนนั่นเอง

ง่วงไม่ขับ

กรมป้องกันฯ เตือนประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ให้ระวังอาการง่วงและหลับในขณะขับขี่ พร้อมแนะวิธีแก้
นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจากผู้ขับรถเกิดอาการหลับใน จึงขอเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนเตรียมสภาพร่างกาย ให้พร้อมก่อนเดินทาง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากผลการศึกษาพบว่า การอดนอนมีผลต่อการขับรถเหมือนกับการดื่มแอลกอฮอล์ที่ระดับ 50 มก. เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลให้ประสาทสัมผัสทุกอย่างช้าลง สมองตื้อ การสั่งการของสมองไปยังกล้ามเนื่อสมองช้าลง เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน จึงแตะเบรก หรือหักรถหลบหนีได้ช้ากว่าปกติ และยิ่งหากคนขับหลับในจะไม่สามารถควบคุมการขับรถได้เลย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะมีการเฉลิมฉลองกันข้ามวันข้ามคืน ประกอบกับความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางในช่วงเทศกาลที่มีการจราจรหนาแน่นและคับคั่ง ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่าปกติ ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูง ดังนั้น ผู้ที่รู้ตัวว่าง่วงจึงไม่ควรฝืนที่จะขับรถต่อ เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายนายอนุชา กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการป้องกันอาการง่วงและหลับในขณะขับขี่ ขอให้ผู้ขับรถหลีกเลี่ยงการขับรถหลังจากกินยานอนหลับ ยาแก้หวัด ยาแก้ภูมิแพ้ งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะความง่วงบวกกับแอลกอฮอล์เล็กน้อย จะทำให้เกิดการหลับในระหว่างขับรถ ส่วนคนที่มีประวัติง่วงนอนง่าย นอนกรน ไม่ควรขับรถโดยลำพัง ถ้าเดินทางไปด้วยกันหลายคน ควรสลับกันขับรถหรือชวนคนขับคุย หากรู้ตัวว่าง่วงต้องจอดแวะข้างทาง และพักหลับประมาณ 10 -15 นาที แล้วจึงขับต่อ หรือดื่มกาแฟ 1 — 2 แก้ว แต่ถ้าไม่สามารถจอดแวะข้างทางได้ ควรจับจุดในร่างกายที่ทำให้ตาสว่าง เช่น จุดหลังศรีษะ ใต้จมูก หรือการบีบหัวนมตัวเองแรงๆ เพื่อทำให้ตัวเองเจ็บ โดยไม่เกิดอาการฟกช้ำดำเขียวร่างกาย ก็จะช่วยให้เกิดอาการตื่นขึ้นได้ชั่วครู่ แต่ถ้าเป็นไปได้ ควรแวะจอดหลับในที่ที่ปลอดภัย ควรแวะจอดหลับในที่ที่ปลอดภัย หรือสถานีบริการน้ำมัน นอกจากนี้กรมป้องกันฯ ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน อาสาสมัคร และองค์กรทุกภาคส่วน จัดตั้งจุดตรวจจุดบริการกาแฟ น้ำดื่ม ผ้าเย็นให้กับพี่น้องประชาชนที่เดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ จำนวน 3,036 จุดทั่วประเทศ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากความง่วง ช่วยลดความเสี่ยงและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและเพื่อนร่วมทาง ทั้งนี้ หากประชาชนพบเหตุฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนสาธารณภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

รังสีอัลตราไวโอเลต

อัลตราไวโอเลต ( ultraviolet ) หรือที่นิยมเรียกชื่อแบบย่อว่า ยูวี (UV) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นในช่วงประมาณ 380 nm - 60 nm ซึ่งอยู่ระหว่างแสงที่มองเห็น กับรังสีเอ็กซ์ นักวิทยาศาสตร์จัดแบ่งรังสียูวีออกเป็นสเปกตรัมย่อยโดยอิงกับระดับพลังงานของรังสี ดังนี้
380-200 nm ยูวีใกล้ (Near UV: NUV)
200-10 nm ยูวีไกล (Far UV: FUV)
31-1 nm ยูวีไกลสุด (Extreme UV: EUV)
แต่ทางวิทยาการด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นิยมแบ่งรังสียูวีเป็น ยูวีเอ (UVA) ความยาวคลื่น 380-315 nm ยูวีบี(UVB) ความยาวคลื่น 315-280 nm และยูวีซี (UVC) ความยาวคลื่น < 280 nm
ดวงอาทิตย์ให้รังสีอัลตราไวโอเลตทั้ง ยูวีเอ, ยูวีบี และ ยูวีซี ซึ่งต่างเป็นรังสีอันตรายที่สามารถทำให้ผิวหนังเกรียม หรือรู้สึกปวดแสบบริเวณผิวส่วนที่ได้รับแสงแดดจ้าเป็นเวลานาน แต่นับว่ายังโชคดีที่รังสีอัลตราไวโอเลตส่วนใหญ่ถูกแก็สโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ดูดกลืนไว้ รังสีอัลตร้าไวโอเลตส่วนที่ทะลุลงสู่ผิวโลกได้เป็นชนิด ยูวีเอ ถึง 99 % อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยหลายประการที่ลดปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ผิวโลกได้รับรังสีอัลตร้าไวโลตมากขึ้น การตระหนักถึงอันตรายของรังสีชนิดนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สร้างเครื่องมือตรวจจับและศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณรังสียูวีบนผิวโลกอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรณรงค์ให้วงการอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นลด หรือเลิกใช้สารฟรีออนในระบบทำความเย็นเพราะหากสารดังกล่าวแพร่ออกสู่บรรยากาศจะทำปฏิกิริยากับโอโซนอย่างรวดเร็ว
รังสีอัลตร้าไวโอเลตสามารถนำมาประยุกย์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ตัวอย่าง เช่น ฆ่าเชื่อโรคในอุตสาหกรรมน้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้โดยฉีดพ่นน้ำเหล่านั้นผ่านแหล่งกำเนิดรังสียูวีที่มีความเข้มสูงตามกำหนด เครื่องจับสัญญาณไฟไหม้เป็นหัววัดที่ไวต่อรังสียูวี ทำด้วยซิลิคอนคาร์ไบด์ หรือ อะลูมินัมไนไตรด์ หรือแม้กระทั่งหลอดบรรจุแก็สที่ถูกกระตุ้นด้วยรังสี ยูวีบีได้ง่าย ยูวีบีจากบริเวณไฟไหม้จึงเป็นตัวเลือกให้เครื่องมือเตือนภัยชนิด นี้ทำงาน อย่างไรก็ตาม การเกิดไฟไหม้นอกจากให้ยูวีบี แล้วยังเกิดรังสีอินฟราเรดร่วมด้วยเสมอ เครื่องจับสัญญาณไฟไหม้ติดหัววัดที่ไวต่อทั้งรังสียูวีบีและรังสีอินฟราเรดประกอบกันจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้อย่างใดอย่างหนึ่งตามลำพัง
สารเคลือบผิวบางชนิดใช้ส่วนผสมที่ไวต่อแสงยูวี เช่น สารที่ใช้เคลือบฟัน และสารเคลือบในใยแก้วนำแสง สารเหล่านี้ต้องแห้งเร็วและทนทานจึงต้องใช้ยูวีเร่งปฏิกิริพอลิเมอไรเซชัน ทำให้โมเลกุลเกี่ยวเป็นโซ่ได้รวดเร็วกว่าการปล่อยให้แห้งในที่ร่ม หรือด้วยแสงธรรมดา
แม้ว่าตาของมนุษย์มองไม่เห็นยูวีแต่สัตว์บางชนิดโดยเฉพาะพวกแมลงมองเห็นแสงชนิดนี้ได้ นักวิทยาศาสตร์จึงประดิษฐ์หลอดไฟ “แบล็กไลต์” ที่เปล่งแสงยูวีสำหรับล่อแมลงให้มาสู่กับดักได้เป็นปริมาณมากๆ ในกรณีแมลงเล็กๆ เช่น ยุง อาจใช้กับดักเป็นตระแกรงไฟฟ้าให้ยุงบินมากระทบและตายได้ เหล่านี้เป็นต้น
รังสียูวีทั้งชนิด ยูวีเอ ยูวีบี และยูวีซี ต่างมีพลังงานสูงถึงขั้นทำลายเซลล์ผิวหนังได้ ผู้คนที่อยู่ในเขตร้อนจึงควรระมัดระวังไม่ให้ผิวโดนแสงแดดจ้าเป็นเวลานานเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้ผิวเกรียมแล้ว รังสียูวีเอ จากแสงแดดยังทำลายดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์ผิวหนัง ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์ผิดปกติกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ครีมกันแดดโดยทั่วไปมีสารดักจับรังสียูวีทำให้ลดอันตรายจากรังสีดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง นอกจากเป็นอันตรายต่อผิวหนังแล้ว ตาเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่ไม่ควรปล่อยให้รับแสงยูวีความเข้มสูงเป็นเวลานาน เพราะเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคทางตา เช่น ต้อหินได้ง่าย การอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดจ้าจึงควรสวมแว่นกันแดดเสมอ

ยาบ้าหรือสารเสพติด

ยาบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine) สารประเภทนี้แพร่ระบาดอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ แอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) และเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ (Methamphetamine Hydrochloride) ซึ่งจากผลการตรวจพิสูจน์ยาบ้าปัจจุบันที่พบอยู่ในประเทศไทยมักพบว่า เกือบทั้งหมดมีเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ผสมอยู่
ยาบ้า จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลืองและสีเขียว มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว, รูปพระจันทร์เสี้ยว, 99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้านก็ได้
ฤทธิ์ในทางเสพติด :ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ :เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้
โทษที่ได้รับ :การเสพยาบ้าก่อให้เกิดผลร้ายหลายประการ ดังนี้1.
ผลต่อจิตใจ เมื่อเสพยาบ้าเป็นระยะเวลานานหรือใช้เป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้เสพมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ กลายเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง ส่งผลให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดอาการหวาดหวั่น หวาดกลัว ประสาทหลอน ซึ่งโรคนี้หากเกิดขึ้นแล้ว อาการจะคงอยู่ตลอดไป แม้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้เสพยาก็ตาม 2.
ผลต่อระบบประสาท ในระยะแรกจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะมีอาการประสาทล้า ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ช้า และผิดพลาด และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม หรือกรณีที่ใช้ยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาทและระบบการหายใจ ทำให้หมดสติและถึงแก่ความตายได้ 3.
ผลต่อพฤติกรรม ฤทธิ์ของยาจะกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมความก้าวร้าว และความกระวนกระวายใจ ดังนั้นเมื่อเสพยาบ้าไปนาน ๆ จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คือ ผู้เสพจะมีความก้าวร้าวเพิ่มขึ้น และหากยังใช้ต่อไปจะมีโอกาสเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง เกรงว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเอง จึงต้องทำร้ายผู้อื่นก่อน

มลพิษทางอากาศ

"มลพิษทางอากาศ" มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในเขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นด้านกลิ่น ความรำคาญ ตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบหายใจ และระบบหัวใจและปอด ดังนั้นการติดตามเฝ้าระวังปริมาณมลพิษในบรรยากาศจึงเป็นภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ กรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยทำการตรวจวัดมลพิษทางอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน: PM-10) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สารตะกั่ว (Pb) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) และก๊าซโอโซน (O3)
สถานการณ์มลพิษทางอากาศ
ผลจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า คุณภาพทางอากาศในประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้น โดยพิจารณาได้จากค่าสูงสุดของความเข้มข้นของสารมลพิษส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นฝุ่นขนาดเล็ก และก๊าซโอโซน ทั้งนี้การที่คุณภาพอากาศของประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้น มีสาเหตุมาจากการลดลงของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และอีกส่วนหนึ่งมาจากมาตรการของรัฐที่มีส่วนทำให้มลพิษทางอากาศลดลง (ธนาคารโลก 2002) ซึ่งได้แก่
การรณรงค์ให้ใช้รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะแทนรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยฝุ่นละอองออกสู่บรรยากาศ การปรับเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ จึงช่วยให้มีการปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศลดลง (รูปที่ 1) (รูปที่ 2)
การติดตั้งอุปกรณ์กำจัดสารซัลเฟอร์ (Desulfurization) ในโรงไฟฟ้าแม่เมาะในปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ดังนั้นการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวทำให้ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศลดลงอย่างต่อเนื่องจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานตั้งแต่มีการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดสารซัลเฟอร์ (รูปที่ 3)
การบังคับใช้อุปกรณ์ขจัดมลพิษในระบบไอเสียรถยนต์ประเภท Catalytic converter ในรถยนต์ใหม่ในปี พ.ศ. 2536 เนื่องจากยานยนต์เป็นแหล่งกำเนิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่สำคัญ ส่งผลให้ระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ลดลงจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (รูปที่ 4) (รูปที่ 5)
การลดปริมาณสารตะกั่วในน้ำมัน โดยในปี พ.ศ 2532 รัฐบาลได้มีมาตรการเริ่มลดปริมาณตะกั่วในน้ำมันจาก 0.45 กรัมต่อลิตรให้เหลือ 0.4 กรัมต่อลิตร และในปี พ.ศ. 2535 ได้ลดลงมาเหลือ 0.15 กรัมต่อลิตร จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลได้ยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซินที่มีสารตะกั่ว ทำให้ระดับสารตะกั่วลดลงอย่างรวดเร็วจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (รูปที่ 6)
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และก๊าซโอโซน ยังเป็นสารมลพิษที่เป็นปัญหา ซึ่งถึงแม้จะมีแนวโน้มลดลงเช่นกันแต่มลพิษทั้ง 2 ตัวก็ยังสูงเกินมาตรฐาน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฝุ่นละอองมีแหล่งกำเนิดหลากหลาย ทำให้การออกมาตรการเพื่อลดฝุ่นละอองทำได้ยาก โดยแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญได้แก่ ยานพาหนะ ฝุ่นละอองแขวนลอยคงค้างในถนน ฝุ่นจากการก่อสร้าง และอุตสาหกรรม สำหรับในพื้นที่ชนบท แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญ คือ การเผาไหม้ในภาคเกษตร ขณะที่ก๊าซโอโซน เป็นสารมลพิษทุติยภูมิที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compound: VOC) และออกไซด์ของไนโตรเจน โดยมีความร้อนและแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ก๊าซโอโซนมีปริมาณสูงสุดในช่วงเที่ยงและบ่าย และถูกกระแสลมพัดพาไปสะสมในบริเวณต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยที่ยากต่อการควบคุมการเกิดของก๊าซโอโซน ทำให้มาตรการต่างๆ ยังไม่สามารถลดปริมาณก๊าซโอโซนลงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้
มลพิษทางอากาศมีแหล่งกำเนิดมลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมแตกต่างและรุนแรงต่างกันไป ทั้งนี้สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1
มูลค่าความเสียหาย
เนื่องจากมลพิษทางอากาศมีผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในเขตเมือง ในการศึกษานี้ได้ประเมินต้นทุนมลพิษทางอากาศจากต้นทุนสุขภาพของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเขตเมืองทั้งหมด 21 จังหวัด โดยพิจารณาจากจังหวัดที่มีจำนวนประชากรในเขตเทศบาลเกิน 100,000 คน จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา และเพิ่มเติมจังหวัดที่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งแสดงถึงการต้องเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในบริเวณดังกล่าวจำนวน 9 จังหวัด ซึ่งได้แก่ ลำปาง นครสวรรค์ สระบุรี ปทุมธานี ระยอง นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และภูเก็ต
การประเมินต้นทุนมลพิษทางอากาศจากค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจใช้ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน กรณีผู้ป่วยนอกมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 275 บาทต่อครั้ง (ราคาปี พ.ศ. 2547) และในกรณีของผู้ป่วยในโรคปอดอักเสบมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 11,163 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) โรคหลอดลมอักเสบ หลอดลมพองและโรคหืดมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 7,204 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) โรคระบบหายใจส่วนบนติดเชื้อเฉียบพลัน และโรคอื่นๆ ของระบบหายใจส่วนบนมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 14,277 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) โรคเรื้อรังของระบบหายใจส่วนล่างมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 15,272 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) โรคหืด โรคหืดชนิดเฉียบพลัน และโรคอื่นๆ ของระบบหายใจ มีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 5,317 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) จากการคำนวณ พบว่า มูลค่าความเสียหายด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศเฉลี่ยเท่ากับ 5,866 ล้านบาทต่อปี
ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจมีการเก็บรวบรวมโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลรายปี รายจังหวัด อย่างไรก็ตาม ไม่มีการระบุถึงสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริง ดังนั้น ควรศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจว่ามาจากสาเหตุใด เพื่อให้การคำนวณมูลค่าความเสียหายด้านสุขภาพที่เกิดจากมลพิษอากาศมีความถูกต้องมากขึ้น.
ทัศนคติของประชาชน
ผลสำรวจทัศนคติของประชาชน พบว่า ประชาชนร้อยละ 3.4 มีความเห็นว่าปัญหามลพิษทางอากาศ เป็นปัญหาสำคัญที่สุดของประเทศ

มาตรการป้องกันเพื่อนลดก๊าสเรือนกระจก

สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 จนถึงกรกฎาคม 2548 รวม 19 เดือนที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบไปทุกด้าน ประชาชนผู้บริสุทธิ์ เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายต่างๆ รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงต่างบาดเจ็บล้มตายไปแล้วร่วมพันคน
การฆ่าโดยไม่จำแนกเป้าหมาย ทั้งประชาชนทั่วไป ทั้งพุทธและมุสลิม ก่อให้เกิดความหวาดกลัว ความสับสน ความแตกแยก การกล่าวร้ายต่อกัน ไปทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขยายสู่สังคมไทยผ่านสื่อต่างๆ ออกไปอย่างต่อเนื่อง
ขณะนี้ได้เริ่มเกิดวงจรของการใช้ความรุนแรงตอบโต้ซึ่งกันและกัน และกลายเป็นกระแสความคิด ที่เข้าไปครอบงำความคิดของผู้คนในสังคม ทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และในส่วนอื่นของประเทศ
สถานการณ์มีแนวโน้มของการตอบโต้ ทำร้ายซึ่งกันและกัน และกระทำต่อผู้บริสุทธิ์กลุ่มต่างๆ ด้วยความรุนแรงมากขึ้น
ในขณะที่การประกอบอาชีพเพื่อปากท้องของชาวบ้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาร่วมปีเศษ ถูกซ้ำเติมด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มถดถอยลงของประเทศ น้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มีราคาแพง ภาวะข้าวยาวหมากแพงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้น
จึงเกิดคำถามว่า เราจะร่วมกันแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ที่เลวร้ายซึ่งเกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร ตาต่อตา ฟันต่อฟัน สันติวิธี สมานฉันท์หรืออื่นๆ
กลุ่มคนเป้าหมายที่จะดำเนินการคือใคร อยู่ที่ไหน จะค้นหาได้อย่างไร
จะเริ่มต้นที่จุดไหน กับใครอย่างไร เพื่ออะไร
และมีหลักประกันอะไรที่จะทำให้เชื่อได้ว่าจะเป็นหนทางสู่การสร้างสันติสุขที่ยั่งยืน
ทางออกปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทางหนึ่งคือ การทบทวนบทเรียนจากอดีต การอธิบายสาเหตุของปัญหา ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันจากข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จากเอกสาร ทรรศนะ ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปสู่การตั้งประเด็น หรือการตั้งข้อสมมุติฐานถึงสาเหตุของปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สาธารณชนและสังคมไทยได้มาร่วมกันตั้งคำถาม ได้มาร่วมกันตรวจสอบ ได้มาร่วมกันแสวงหาพยานหลักฐานต่างๆ มายืนยัน เกี่ยวกับสาเหตุแท้จริงของปัญหา และกลุ่มคนที่ก่อความรุนแรงในปัจจุบัน
อันอาจจะช่วยให้สังคมไทยได้มีสติ หลุดพ้นจากการกล่าวร้าย แตกแยก หวาดระแวงต่อกันได้ในระดับหนึ่ง
บทเรียนการแก้ปัญหาในอดีต (พ.ศ.2489-2526)
เมื่อปี 2490 ยอมรับความต่างทางวัฒนธรรม และปรับปรุงประสิทธิภาพข้าราชการ
จากรายงานการปฏิบัติของคณะกรรมการสอดส่องสภาวการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2490 เพื่อสืบสวน เสนอแนะปรับปรุงสถานการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ มีข้อสรุปว่า ราษฎรทั่วๆ ไปประกอบอาชีพโดยสงบ ความเคลื่อนไหวเนื่องจากบุคคลชั้นหัวหน้าชาวไทยอิสลามเป็นผู้ปลุกปั่น หนักไปในทางชาตินิยม มูลเหตุการเคลื่อนไหว คงได้รับความกระทบ กระเทือนจิตใจครั้งแรกเมื่อทางราชการกวดขันเรื่องวัฒนธรรม สมัยสงครามและหลังสงครามราษฎรประสบความยากแค้น ประกอบกับความเสื่อมทรามของเจ้าหน้าที่ และได้เห็นทางมลายูอิสลามด้วยกันกลับมีความสุข
คณะกรรมการสอดส่องสภาวการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้ติดต่อกับหัวหน้าชาวไทยอิสลามเพื่อชี้แจงซักซ้อมความเข้าใจ และได้เสนอแนวทางการปรับปรุงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อแจ้งกระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไปเช่น
ให้กระทรวงมหาดไทย แจ้ง 4 จังหวัดภาคใต้ผ่อนคลายเรื่องการแต่งกายของราษฎร โดยแนะนำให้แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยม
การสร้างสุเหร่าหลวง
การผ่อนคลายในเรื่องประกอบพิธีทางศาสนา และร่วมมือในพิธีสำคัญตามควรเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และศีลธรรมอันดีของท้องถิ่น
การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ เฉพาะอย่างยิ่งที่มีหน้าที่ติดต่อกับราษฎร ควรเลือกเฟ้นเป็นพิเศษ ให้มีคุณสมบัติ มีพื้นความรู้ภาษาพื้นเมือง ตลอดจนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นผู้รู้จักเคารพนับถือของมาก่อนหรือคนที่มีคุณสมบัติ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องถือว่ามีความสำคัญเกี่ยวกับความไว้วางใจของราษฎรและการรักษาความสวัสดิภาพของประชาชน
ตั้งกรรมการสอบสวนคำร้องทุกข์ของชาวไทยอิสลามใน 4 จังหวัดภาคใต้
ปี 2525-2526 นโยบายชัดเจน ข้าราชการมีความเสียสละ
จากงานศึกษาวิจัยเรื่องการปกครองท้องที่ต่างวัฒนธรรม : สถานการณ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และคณะพบว่าสถานการณ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เลวร้ายลง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 ได้คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นในปี 2525-2526 เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และสอดคล้องกัน ทั้งด้านการปราบปรามและการพัฒนา รวมทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับต่างประเทศ การปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ และการเข้าถึงประชาชน การสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้นำศาสนา การปราบปรามกลุ่มโจรหลักคือ ขจก. จคม. และ ผกค.อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
แต่เงื่อนไขสำคัญในการแก้ไขปัญหาคือ การที่ข้าราชการได้เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม หันมาทำงานร่วมกับประชาชนและมีความเสียสละในการทำงานมากขึ้น
การศึกษาครั้งนั้นได้คาดหวังว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการในพื้นที่ จะได้รับการผลักดันให้ดีขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
ที่น่าสนใจก็คือ การศึกษาครั้งนั้นได้พยากรณ์ไว้ว่า ปัญหาสำคัญของการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งความขัดแย้งของผู้นำหน่วยงานของทางราชการด้วยเหตุผลทางการเมือง
นโยบายรัฐขัดแย้งในตัวเองมาอย่างยาวนาน ทำให้ปัญหายังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน
บทเรียนในอดีตที่น่าสนใจคือ การศึกษานโยบายของรัฐเพื่อสร้างบูรณาการทางการเมือง ต่อชาวมาเลย์มุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระหว่าง พ.ศ.2343-2524) โดยพนมพร อนุรักษา ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยออสตินแห่งเท็กซัส เมื่อปี 2527 ที่ระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลตั้งใจดีที่จะทำให้เกิดความสงบสุข แต่ในข้อเท็จจริงนโยบายของรัฐบาลมีลักษณะที่ขัดแย้งในตัวเองมาอย่างยาวนาน
ด้านหนึ่งพยายามส่งเสริมสวัสดิการชาวไทยมุสลิมด้านศาสนา
แต่อีกด้านหนึ่งพยายามไม่สนับสนุนสิ่งที่เป็นความต้องการที่แท้จริงของชาวไทยมุสลิม เช่น การรักษาชาติพันธุ์และความเป็นมุสลิม
ส่วนนโยบายด้านเศรษฐกิจก็ได้พยายามดึงคนมุสลิมเข้าสู่เศรษฐกิจไทย โดยเน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ละเลยพื้นที่ยากจน เน้นการสร้างความมั่นคงมากกว่าการแก้ไขความยากจนของคนชนบท
ปัจจุบัน : พลวัตปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป (พ.ศ.2533-2547)
ส่วนแรกคือ : อัตลักษณ์ของพื้นที่ถูกคุกคาม ปัญหาเดิมที่ดำรงอยู่
ข้อสรุปที่น่าสนใจคือ ผลการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเรื่อง ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 หลังเหตุการณ์กรือเซะ 28 เมษายน 2547 เพียง 15 วัน ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ที่ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ โดยแก่นสารเป็นปัญหาที่เกิดจากความรู้สึกว่า วิถีชีวิต วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ถูกคุกคาม การตกอยู่ในกับดักทางประวัติศาสตร์ ปัญหาลัทธิพัฒนา ลัทธิพาณิชยนิยมที่กระทบต่อศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และปัญหาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย
ส่วนที่สอง การต่อสู้และการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มใหม่ : ปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักฐานที่พอจะยืนยันอธิบายได้ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2533-2547) คือ
ปี 2533 การชุมนุมประท้วงที่มัสยิดกรือเซะ : การปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ได้เขียนไว้ในบทความ กรือเซะ เวทีแห่งการปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์ครั้งใหญ่ของชาวมุสลิม ในสารคดี 10 (2) ปี 2537 สรุปว่า การชุมนุมประท้วงที่กรือเซะ เมื่อเดือนมิถุนายน 2533 เป็นผลจากความพยายามต่อรองทางเอกลักษณ์มุสลิม กับสังคมไทยโดยรวม และมีบทเรียนสำคัญที่พึงระมัดระวังคือ การทำความเข้าใจว่าเหตุใดชาวมุสลิมจำนวนมากจึงถูกชักนำเข้าร่วมการประท้วงที่กรือเซะ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยมุมมองใหม่เกี่ยวกับการปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำนาน คำสอนและความเชื่อทางศาสนา ที่เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหว มีการปะทะต่อรองครั้งแล้ว ครั้งเล่าของกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ เพื่อกำหนดหรือขยายอาณาเขตทางวัฒนธรรม และในบางครั้งหมายถึงการลดทอนอาณาเขตของวัฒนธรรมอื่น
ปี 2536 ปฏิบัติการของคนรุ่นใหม่
ข่าวพิเศษ อาทิตย์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 844 (135) ปี 2536 ได้นำเสนอแนววิเคราะห์กรณีการเผาโรงเรียน 34 โรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2536 ว่า
...เน้นน้ำหนักไปที่คนรุ่นใหม่ ที่มีจิตใจโน้มเอียง ชื่นชมการต่อสู้ของอิหร่านที่เคร่งครัดต่อวิถีของชาวมุสลิม กลุ่มคนหนุ่มเหล่านี้ไม่มีแกนนำที่เด่นชัด การรวมตัวยังอยู่ในรูปหลวมๆ ที่แยบยล มีอุดมการณ์ว่า มุสลิมแท้ต้องไม่ประนีประนอมกับอำนาจรัฐ แต่ปรากฏการณ์ที่กรณีการเผาโรงเรียนไม่ใช่การกระทำของ ขจก.แน่ เพราะคนป่า จะไม่ทำงานเป็นระบบเช่นนี้ อีกทั้งมีความละเมียดละไมที่จะไม่ทำร้ายชีวิตประชาชนแสดงความไม่ต้องการปัจจัยมวลชน แนววิเคราะห์พุ่งเป้าไปในจุดสุดท้ายว่า อาจมีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มคนหนุ่มเคร่งอุดมการณ์การต่อสู้เพื่ออิสลามเหล่านี้ จะกระทำการวินาศกรรมขึ้นเพียงเพื่อประท้วงผู้นำการต่อสู้รุ่นเก่าที่หันไปเดินแนวทาง "ในระบบ" คือการต่อสู้ทางรัฐสภา...
ปี 2547 ขบวนการต่อสู้เพื่อชาติพันธุ์ ที่ใช้ความเชื่อและความรุนแรงเป็นอาวุธ
ความเป็นมลายู
เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน ได้กล่าวไว้ในบทสนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์สากล ความเป็นไปในอุษาคเนย์สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ในวารสารฟ้าเดียวกัน 2 (3) ปี 2547 ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาขาดการยอมรับด้านชาติพันธุ์มลายูของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน่าสนใจว่า
...กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาส่วนหนึ่งคือรัฐไทยและผู้นำไทยมองดูพวกที่ยะลาและที่อื่นๆ ว่า นี่เป็นคนไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เขาไม่ได้บอกว่านี่เป็นราษฎรไทยที่เป็นมลายู ที่นี้เลยทำให้คนที่มองดูจากภายนอกงงมากเลยว่า มีอิสลามที่กรุงเทพฯ มีอิสลามที่เชียงใหม่ มีอิสลามที่ขอนแก่น มีอิสลามทั่วประเทศ ถ้าอันนี้เป็นปัญหาของอิสลาม ทำไมถึงเกิดเรื่องขึ้นที่สามจังหวัดเท่านั้น อธิบายไม่ได้ เมื่อรัฐบาลไม่ยอมรับความเป็นมลายู ไม่ยอมรับภาษามลายู คนที่นั่นจึงต้องใช้อาวุธอิสลาม..."
ขบวนการเคลื่อนไหวแบบใหม่
ขณะเดียวกันอาจารย์จรัล มะลูลีม ได้สรุปในมติชนรายสัปดาห์ ฉบับที่ 24 (1261) ปี 2547 ว่า
...ขณะนี้เราต้องเผชิญกับขบวนการลับ ที่มีชื่อว่า ฎอริกัต ฮิกมะตุลลอฮ์ อะบาดา (แนวทางแห่งวิทยปัญญาของพระเจ้าชั่วนิรันดร์) ขบวนการลับนี้การทำงานอย่างเป็นระบบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ไปตามสถานการณ์ไม่ได้มีความผูกพันกับขบวนการเดิมที่อ่อนกำลังลงไป สามารถเชิญชวนผู้คนโดยเฉพาะเด็กหนุ่มทั้งที่มีระดับสมองดี สมองปานกลาง และหลงใหลในชีวิตเหนือจริง เข้าร่วมขบวนการได้จำนวนมาก โดยอาศัยเงื่อนไขทางสังคมที่พูดซ้ำกันครั้งแล้วครั้งเล่า นั่นคือการแสดงอำนาจ การกดขี่ การอุ้ม ฯลฯ ของเจ้าหน้าที่บางคนมาเป็นเงื่อนไข มีการนำหลักศาสนามาบิดเบือน มีการกล่าวว่า การกระทำของพวกเขานั้น เป็นการต่อสู้เพื่อพระเจ้า..."
ความเชื่อและการใช้ความรุนแรง
การอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การใช้ความรุนแรงต่อประชาชนคนทั่วไปที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถอธิบายได้ จากเอกสารเบอร์จีฮาด ดิ ปัตตานี (การต่อสู้ที่ปัตตานี) ที่มีการระบุให้แบ่งแยกคนในสังคม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มแรกคือ ผู้ที่เห็นด้วยกับการต่อสู้ตามแนวทางของกลุ่มใช้ความรุนแรง
กลุ่มที่สองคือ บรรดามุสลิมผู้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพวกเขาเป็นคนทรยศ คนกลับกลอก
กลุ่มที่สามคือ คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นคนนอกศาสนา คนในกลุ่มที่สองและสามจึงกลายเป็นเป้าหมาย เป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งนับวันจะขยายตัวบานปลายออกไปเรื่อยๆ
ซึ่งทางออกคงไม่ใช่ตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ในการร่วมกันปกป้องผู้บริสุทธิ์ และลงโทษผู้ใช้ความรุนแรง ตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด และเที่ยงธรรม รวมทั้งทำความเข้าใจกับคนส่วนใหญ่ ให้สามารถแยกแยะและเห็นซึ้งถึงผลเสียจากการใช้ความรุนแรง ซึ่งในที่สุดแล้ว ทุกคนก็คือผู้ที่จะต้องร่วมรับความเสียหาย ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ทางออกของปัญหา
ท่ามกลางความหวาดระแวง ความกลัวในปัจจุบัน
สถานการณ์ในพื้นที่ ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่เชื่อถือ ความหวาดระแวงต่อกันเป็นเชื้อ เป็นเมล็ดพันธุ์ของการกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อกัน อย่างขาดสติมากขึ้น
ทางออกสำคัญที่ขอเชิญชวนทุกฝ่ายคือ การมาช่วยกันแก้ปัญหาพื้นฐานของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาของปริญญา อุดมทรัพย์และคณะ เมื่อปี 2545 ในพื้นที่ อ.สายบุรี อ.เมืองปัตตานี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี อ.เบตง อ.บันนังสตา อ.รามัน จ.ยะลา อ.ตากใบ อ.บาเจาะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 9 อำเภอ ผ่านเวทีชาวบ้านรวม 13 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ชาวบ้านทั้งพุทธ มุสลิม ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 60 คนต่ออำเภอ รวม 589 คน พบว่า
ปัญหาสำคัญของชาวบ้านทุกศาสนิกคือ ปัญหาความยากจนของแรงงานรับจ้างก่อสร้าง กรีดยาง
ปัญหาเยาวชนว่างงาน เพราะไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพ
ปัญหาเงาะ ทุเรียน ลองกอง ราคาตกต่ำ ล้นตลาด
ชาวบ้านไม่มีสิทธิในที่ดินทำกินของตนเองเพราะที่ดินทำกินซ้อนทับกับเขตป่าสงวน เขตอุทยานแห่งชาติ
ปัญหาหลักสูตรการศึกษาไม่สอดคล้องกับท้องถิ่นด้านการเกษตร ไม่มีความรู้เรื่องอาชีพท้องถิ่น การศึกษาภาคฟัรฏูอีน (ภาคบังคับของศาสนาอิสลาม) ขาดการสนับสนุนจากประชาชนและรัฐบาล
ยาบ้า กัญชา ยาแก้ไอ เหล้าแห้ง ยากันยุง กาว กระท่อม เฮโรอีน แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ของเจ้าหน้าที่ระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจสภาพสังคมและชุมชนที่รับผิดชอบ ไม่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น การกำหนดนโยบายไม่ได้มาจากปัญหาของราษฎรอย่างแท้จริง
เพราะแท้ที่จริงแล้ว "การแก้ไขปัญหาพื้นฐานของชาวบ้านคือการสร้างสันติภาพและเอกภาพของชาติที่ยั่งยืน" เป็นการสร้างทางเลือกให้กับประชาชนคนสามัญ โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความต้องการอุดมการณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องการที่จะดำรงชีวิตร่วมกันโดยปกติสุข มีการเคารพในสิทธิ เสรีภาพซึ่งกันและกันยอมรับในเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ซึ่งกันและกัน
แนวทางนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยตรง แต่จะช่วยคลี่คลายปัญหา ช่วยคลี่คลายความหวาดระแวง และประการสำคัญ ช่วยคลี่คลายความมุ่งมาดปรารถนาของการใช้กำลัง เพราะว่าการใช้กำลังไม่ว่าจากฝ่ายไหนก็ตาม ถ้าขาดเสียซึ่งฐานความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ไม่คิดว่าจะเป็นความยั่งยืน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศโดยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงและการตัดไม้ทำลายป่า แต่ในขณะเดียวกันการเจริญเติบโตของต้นไม้และป่าไม้ก็ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนสภาพให้เป็นมวลชีวภาพ (Biomass) กระบวนการนี้เรียกว่า การสะสมคาร์บอนหรือการกักเก็บ (Carbon Sequestration) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซมีเธนเกิดขึ้นจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาพที่ปราศจากออกซิเจน เช่น สภาพน้ำขังในนาข้าว การย่อยอาหารโดยการหมักในกระเพาะอาหาร (Enteric Fermentation) ของสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant Animals) นอกจากนี้ การบำบัดน้ำเสีย การกลบฝังขยะ ตลอดจนพื้นที่ชุ่มน้ำยังเป็นแหล่งการเกิดก๊าซมีเธนได้อีก นอกจากกระบวนการทางธรรมชาติแล้ว การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนยังทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ซึ่งถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศด้วย
ก๊าซเรือนกระจกชนิดต่าง ๆ มีอายุ และการแผ่รังสีความร้อน (Radiative Effect) ต่าง ๆ กัน เรียกว่า ศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (Global Warming Potentials - GWPs) นิยามของ GWPs คือ ความสามารถของก๊าซเรือนกระจกใด ๆ ในการทำให้เกิดความอบอุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำหนักเท่ากัน เช่นเมื่อพิจารณาในช่วงอายุหนึ่งร้อยปีพบว่า ก๊าซมีเธนและก๊าซไนตรัสออกไซด์ มีค่า GWPs เท่ากับ 210 และ 310 ตามลำดับ หมายความว่า ก๊าซมีเธนจำนวนหนึ่งตัน มีศักยภาพในการกักเก็บและแผ่รังสีความร้อน เท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 21 ตัน และก๊าซไนตรัสออกไซด์จำนวนหนึ่งตัน มีศักยภาพในการกักเก็บและแผ่รังสีความร้อน เท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 310 ตัน ส่วนก๊าซอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ของมนุษย์ เช่น สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอนนั้น มีศักยภาพสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 100 ถึง 1,000 เท่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523-2533 ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเธน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน และไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน ที่ถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศในแต่ละปีปริมาณ 26,000 , 300 , 6 , 0.9 และ 0.1 ล้านตัน ตามลำดับแต่เมื่อพิจารณาตามค่า GWPs แล้วพบว่า สัดส่วนของการทำให้โลกร้อนขึ้นของก๊าซมีเธน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน ดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 55 , 15 , 6 และ 4 ตามลำดับ

3จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 จนถึงกรกฎาคม 2548 รวม 19 เดือนที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบไปทุกด้าน ประชาชนผู้บริสุทธิ์ เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายต่างๆ รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงต่างบาดเจ็บล้มตายไปแล้วร่วมพันคน
การฆ่าโดยไม่จำแนกเป้าหมาย ทั้งประชาชนทั่วไป ทั้งพุทธและมุสลิม ก่อให้เกิดความหวาดกลัว ความสับสน ความแตกแยก การกล่าวร้ายต่อกัน ไปทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขยายสู่สังคมไทยผ่านสื่อต่างๆ ออกไปอย่างต่อเนื่อง
ขณะนี้ได้เริ่มเกิดวงจรของการใช้ความรุนแรงตอบโต้ซึ่งกันและกัน และกลายเป็นกระแสความคิด ที่เข้าไปครอบงำความคิดของผู้คนในสังคม ทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และในส่วนอื่นของประเทศ
สถานการณ์มีแนวโน้มของการตอบโต้ ทำร้ายซึ่งกันและกัน และกระทำต่อผู้บริสุทธิ์กลุ่มต่างๆ ด้วยความรุนแรงมากขึ้น
ในขณะที่การประกอบอาชีพเพื่อปากท้องของชาวบ้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาร่วมปีเศษ ถูกซ้ำเติมด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มถดถอยลงของประเทศ น้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มีราคาแพง ภาวะข้าวยาวหมากแพงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้น
จึงเกิดคำถามว่า เราจะร่วมกันแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ที่เลวร้ายซึ่งเกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร ตาต่อตา ฟันต่อฟัน สันติวิธี สมานฉันท์หรืออื่นๆ
กลุ่มคนเป้าหมายที่จะดำเนินการคือใคร อยู่ที่ไหน จะค้นหาได้อย่างไร
จะเริ่มต้นที่จุดไหน กับใครอย่างไร เพื่ออะไร
และมีหลักประกันอะไรที่จะทำให้เชื่อได้ว่าจะเป็นหนทางสู่การสร้างสันติสุขที่ยั่งยืน
ทางออกปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทางหนึ่งคือ การทบทวนบทเรียนจากอดีต การอธิบายสาเหตุของปัญหา ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันจากข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จากเอกสาร ทรรศนะ ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปสู่การตั้งประเด็น หรือการตั้งข้อสมมุติฐานถึงสาเหตุของปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สาธารณชนและสังคมไทยได้มาร่วมกันตั้งคำถาม ได้มาร่วมกันตรวจสอบ ได้มาร่วมกันแสวงหาพยานหลักฐานต่างๆ มายืนยัน เกี่ยวกับสาเหตุแท้จริงของปัญหา และกลุ่มคนที่ก่อความรุนแรงในปัจจุบัน
อันอาจจะช่วยให้สังคมไทยได้มีสติ หลุดพ้นจากการกล่าวร้าย แตกแยก หวาดระแวงต่อกันได้ในระดับหนึ่ง
บทเรียนการแก้ปัญหาในอดีต (พ.ศ.2489-2526)
เมื่อปี 2490 ยอมรับความต่างทางวัฒนธรรม และปรับปรุงประสิทธิภาพข้าราชการ
จากรายงานการปฏิบัติของคณะกรรมการสอดส่องสภาวการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2490 เพื่อสืบสวน เสนอแนะปรับปรุงสถานการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ มีข้อสรุปว่า ราษฎรทั่วๆ ไปประกอบอาชีพโดยสงบ ความเคลื่อนไหวเนื่องจากบุคคลชั้นหัวหน้าชาวไทยอิสลามเป็นผู้ปลุกปั่น หนักไปในทางชาตินิยม มูลเหตุการเคลื่อนไหว คงได้รับความกระทบ กระเทือนจิตใจครั้งแรกเมื่อทางราชการกวดขันเรื่องวัฒนธรรม สมัยสงครามและหลังสงครามราษฎรประสบความยากแค้น ประกอบกับความเสื่อมทรามของเจ้าหน้าที่ และได้เห็นทางมลายูอิสลามด้วยกันกลับมีความสุข
คณะกรรมการสอดส่องสภาวการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้ติดต่อกับหัวหน้าชาวไทยอิสลามเพื่อชี้แจงซักซ้อมความเข้าใจ และได้เสนอแนวทางการปรับปรุงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อแจ้งกระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไปเช่น
ให้กระทรวงมหาดไทย แจ้ง 4 จังหวัดภาคใต้ผ่อนคลายเรื่องการแต่งกายของราษฎร โดยแนะนำให้แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยม
การสร้างสุเหร่าหลวง
การผ่อนคลายในเรื่องประกอบพิธีทางศาสนา และร่วมมือในพิธีสำคัญตามควรเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และศีลธรรมอันดีของท้องถิ่น
การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ เฉพาะอย่างยิ่งที่มีหน้าที่ติดต่อกับราษฎร ควรเลือกเฟ้นเป็นพิเศษ ให้มีคุณสมบัติ มีพื้นความรู้ภาษาพื้นเมือง ตลอดจนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นผู้รู้จักเคารพนับถือของมาก่อนหรือคนที่มีคุณสมบัติ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องถือว่ามีความสำคัญเกี่ยวกับความไว้วางใจของราษฎรและการรักษาความสวัสดิภาพของประชาชน
ตั้งกรรมการสอบสวนคำร้องทุกข์ของชาวไทยอิสลามใน 4 จังหวัดภาคใต้
ปี 2525-2526 นโยบายชัดเจน ข้าราชการมีความเสียสละ
จากงานศึกษาวิจัยเรื่องการปกครองท้องที่ต่างวัฒนธรรม : สถานการณ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และคณะพบว่าสถานการณ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เลวร้ายลง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 ได้คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นในปี 2525-2526 เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และสอดคล้องกัน ทั้งด้านการปราบปรามและการพัฒนา รวมทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับต่างประเทศ การปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ และการเข้าถึงประชาชน การสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้นำศาสนา การปราบปรามกลุ่มโจรหลักคือ ขจก. จคม. และ ผกค.อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
แต่เงื่อนไขสำคัญในการแก้ไขปัญหาคือ การที่ข้าราชการได้เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม หันมาทำงานร่วมกับประชาชนและมีความเสียสละในการทำงานมากขึ้น
การศึกษาครั้งนั้นได้คาดหวังว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการในพื้นที่ จะได้รับการผลักดันให้ดีขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
ที่น่าสนใจก็คือ การศึกษาครั้งนั้นได้พยากรณ์ไว้ว่า ปัญหาสำคัญของการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งความขัดแย้งของผู้นำหน่วยงานของทางราชการด้วยเหตุผลทางการเมือง
นโยบายรัฐขัดแย้งในตัวเองมาอย่างยาวนาน ทำให้ปัญหายังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน
บทเรียนในอดีตที่น่าสนใจคือ การศึกษานโยบายของรัฐเพื่อสร้างบูรณาการทางการเมือง ต่อชาวมาเลย์มุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระหว่าง พ.ศ.2343-2524) โดยพนมพร อนุรักษา ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยออสตินแห่งเท็กซัส เมื่อปี 2527 ที่ระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลตั้งใจดีที่จะทำให้เกิดความสงบสุข แต่ในข้อเท็จจริงนโยบายของรัฐบาลมีลักษณะที่ขัดแย้งในตัวเองมาอย่างยาวนาน
ด้านหนึ่งพยายามส่งเสริมสวัสดิการชาวไทยมุสลิมด้านศาสนา
แต่อีกด้านหนึ่งพยายามไม่สนับสนุนสิ่งที่เป็นความต้องการที่แท้จริงของชาวไทยมุสลิม เช่น การรักษาชาติพันธุ์และความเป็นมุสลิม
ส่วนนโยบายด้านเศรษฐกิจก็ได้พยายามดึงคนมุสลิมเข้าสู่เศรษฐกิจไทย โดยเน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ละเลยพื้นที่ยากจน เน้นการสร้างความมั่นคงมากกว่าการแก้ไขความยากจนของคนชนบท
ปัจจุบัน : พลวัตปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป (พ.ศ.2533-2547)
ส่วนแรกคือ : อัตลักษณ์ของพื้นที่ถูกคุกคาม ปัญหาเดิมที่ดำรงอยู่
ข้อสรุปที่น่าสนใจคือ ผลการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเรื่อง ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 หลังเหตุการณ์กรือเซะ 28 เมษายน 2547 เพียง 15 วัน ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ที่ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ โดยแก่นสารเป็นปัญหาที่เกิดจากความรู้สึกว่า วิถีชีวิต วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ถูกคุกคาม การตกอยู่ในกับดักทางประวัติศาสตร์ ปัญหาลัทธิพัฒนา ลัทธิพาณิชยนิยมที่กระทบต่อศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และปัญหาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย
ส่วนที่สอง การต่อสู้และการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มใหม่ : ปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักฐานที่พอจะยืนยันอธิบายได้ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2533-2547) คือ
ปี 2533 การชุมนุมประท้วงที่มัสยิดกรือเซะ : การปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ได้เขียนไว้ในบทความ กรือเซะ เวทีแห่งการปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์ครั้งใหญ่ของชาวมุสลิม ในสารคดี 10 (2) ปี 2537 สรุปว่า การชุมนุมประท้วงที่กรือเซะ เมื่อเดือนมิถุนายน 2533 เป็นผลจากความพยายามต่อรองทางเอกลักษณ์มุสลิม กับสังคมไทยโดยรวม และมีบทเรียนสำคัญที่พึงระมัดระวังคือ การทำความเข้าใจว่าเหตุใดชาวมุสลิมจำนวนมากจึงถูกชักนำเข้าร่วมการประท้วงที่กรือเซะ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยมุมมองใหม่เกี่ยวกับการปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำนาน คำสอนและความเชื่อทางศาสนา ที่เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหว มีการปะทะต่อรองครั้งแล้ว ครั้งเล่าของกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ เพื่อกำหนดหรือขยายอาณาเขตทางวัฒนธรรม และในบางครั้งหมายถึงการลดทอนอาณาเขตของวัฒนธรรมอื่น
ปี 2536 ปฏิบัติการของคนรุ่นใหม่
ข่าวพิเศษ อาทิตย์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 844 (135) ปี 2536 ได้นำเสนอแนววิเคราะห์กรณีการเผาโรงเรียน 34 โรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2536 ว่า
...เน้นน้ำหนักไปที่คนรุ่นใหม่ ที่มีจิตใจโน้มเอียง ชื่นชมการต่อสู้ของอิหร่านที่เคร่งครัดต่อวิถีของชาวมุสลิม กลุ่มคนหนุ่มเหล่านี้ไม่มีแกนนำที่เด่นชัด การรวมตัวยังอยู่ในรูปหลวมๆ ที่แยบยล มีอุดมการณ์ว่า มุสลิมแท้ต้องไม่ประนีประนอมกับอำนาจรัฐ แต่ปรากฏการณ์ที่กรณีการเผาโรงเรียนไม่ใช่การกระทำของ ขจก.แน่ เพราะคนป่า จะไม่ทำงานเป็นระบบเช่นนี้ อีกทั้งมีความละเมียดละไมที่จะไม่ทำร้ายชีวิตประชาชนแสดงความไม่ต้องการปัจจัยมวลชน แนววิเคราะห์พุ่งเป้าไปในจุดสุดท้ายว่า อาจมีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มคนหนุ่มเคร่งอุดมการณ์การต่อสู้เพื่ออิสลามเหล่านี้ จะกระทำการวินาศกรรมขึ้นเพียงเพื่อประท้วงผู้นำการต่อสู้รุ่นเก่าที่หันไปเดินแนวทาง "ในระบบ" คือการต่อสู้ทางรัฐสภา...
ปี 2547 ขบวนการต่อสู้เพื่อชาติพันธุ์ ที่ใช้ความเชื่อและความรุนแรงเป็นอาวุธ
ความเป็นมลายู
เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน ได้กล่าวไว้ในบทสนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์สากล ความเป็นไปในอุษาคเนย์สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ในวารสารฟ้าเดียวกัน 2 (3) ปี 2547 ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาขาดการยอมรับด้านชาติพันธุ์มลายูของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน่าสนใจว่า
...กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาส่วนหนึ่งคือรัฐไทยและผู้นำไทยมองดูพวกที่ยะลาและที่อื่นๆ ว่า นี่เป็นคนไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เขาไม่ได้บอกว่านี่เป็นราษฎรไทยที่เป็นมลายู ที่นี้เลยทำให้คนที่มองดูจากภายนอกงงมากเลยว่า มีอิสลามที่กรุงเทพฯ มีอิสลามที่เชียงใหม่ มีอิสลามที่ขอนแก่น มีอิสลามทั่วประเทศ ถ้าอันนี้เป็นปัญหาของอิสลาม ทำไมถึงเกิดเรื่องขึ้นที่สามจังหวัดเท่านั้น อธิบายไม่ได้ เมื่อรัฐบาลไม่ยอมรับความเป็นมลายู ไม่ยอมรับภาษามลายู คนที่นั่นจึงต้องใช้อาวุธอิสลาม..."
ขบวนการเคลื่อนไหวแบบใหม่
ขณะเดียวกันอาจารย์จรัล มะลูลีม ได้สรุปในมติชนรายสัปดาห์ ฉบับที่ 24 (1261) ปี 2547 ว่า
...ขณะนี้เราต้องเผชิญกับขบวนการลับ ที่มีชื่อว่า ฎอริกัต ฮิกมะตุลลอฮ์ อะบาดา (แนวทางแห่งวิทยปัญญาของพระเจ้าชั่วนิรันดร์) ขบวนการลับนี้การทำงานอย่างเป็นระบบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ไปตามสถานการณ์ไม่ได้มีความผูกพันกับขบวนการเดิมที่อ่อนกำลังลงไป สามารถเชิญชวนผู้คนโดยเฉพาะเด็กหนุ่มทั้งที่มีระดับสมองดี สมองปานกลาง และหลงใหลในชีวิตเหนือจริง เข้าร่วมขบวนการได้จำนวนมาก โดยอาศัยเงื่อนไขทางสังคมที่พูดซ้ำกันครั้งแล้วครั้งเล่า นั่นคือการแสดงอำนาจ การกดขี่ การอุ้ม ฯลฯ ของเจ้าหน้าที่บางคนมาเป็นเงื่อนไข มีการนำหลักศาสนามาบิดเบือน มีการกล่าวว่า การกระทำของพวกเขานั้น เป็นการต่อสู้เพื่อพระเจ้า..."
ความเชื่อและการใช้ความรุนแรง
การอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การใช้ความรุนแรงต่อประชาชนคนทั่วไปที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถอธิบายได้ จากเอกสารเบอร์จีฮาด ดิ ปัตตานี (การต่อสู้ที่ปัตตานี) ที่มีการระบุให้แบ่งแยกคนในสังคม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มแรกคือ ผู้ที่เห็นด้วยกับการต่อสู้ตามแนวทางของกลุ่มใช้ความรุนแรง
กลุ่มที่สองคือ บรรดามุสลิมผู้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพวกเขาเป็นคนทรยศ คนกลับกลอก
กลุ่มที่สามคือ คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นคนนอกศาสนา คนในกลุ่มที่สองและสามจึงกลายเป็นเป้าหมาย เป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งนับวันจะขยายตัวบานปลายออกไปเรื่อยๆ
ซึ่งทางออกคงไม่ใช่ตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ในการร่วมกันปกป้องผู้บริสุทธิ์ และลงโทษผู้ใช้ความรุนแรง ตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด และเที่ยงธรรม รวมทั้งทำความเข้าใจกับคนส่วนใหญ่ ให้สามารถแยกแยะและเห็นซึ้งถึงผลเสียจากการใช้ความรุนแรง ซึ่งในที่สุดแล้ว ทุกคนก็คือผู้ที่จะต้องร่วมรับความเสียหาย ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ทางออกของปัญหา
ท่ามกลางความหวาดระแวง ความกลัวในปัจจุบัน
สถานการณ์ในพื้นที่ ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่เชื่อถือ ความหวาดระแวงต่อกันเป็นเชื้อ เป็นเมล็ดพันธุ์ของการกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อกัน อย่างขาดสติมากขึ้น
ทางออกสำคัญที่ขอเชิญชวนทุกฝ่ายคือ การมาช่วยกันแก้ปัญหาพื้นฐานของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาของปริญญา อุดมทรัพย์และคณะ เมื่อปี 2545 ในพื้นที่ อ.สายบุรี อ.เมืองปัตตานี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี อ.เบตง อ.บันนังสตา อ.รามัน จ.ยะลา อ.ตากใบ อ.บาเจาะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 9 อำเภอ ผ่านเวทีชาวบ้านรวม 13 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ชาวบ้านทั้งพุทธ มุสลิม ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 60 คนต่ออำเภอ รวม 589 คน พบว่า
ปัญหาสำคัญของชาวบ้านทุกศาสนิกคือ ปัญหาความยากจนของแรงงานรับจ้างก่อสร้าง กรีดยาง
ปัญหาเยาวชนว่างงาน เพราะไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพ
ปัญหาเงาะ ทุเรียน ลองกอง ราคาตกต่ำ ล้นตลาด
ชาวบ้านไม่มีสิทธิในที่ดินทำกินของตนเองเพราะที่ดินทำกินซ้อนทับกับเขตป่าสงวน เขตอุทยานแห่งชาติ
ปัญหาหลักสูตรการศึกษาไม่สอดคล้องกับท้องถิ่นด้านการเกษตร ไม่มีความรู้เรื่องอาชีพท้องถิ่น การศึกษาภาคฟัรฏูอีน (ภาคบังคับของศาสนาอิสลาม) ขาดการสนับสนุนจากประชาชนและรัฐบาล
ยาบ้า กัญชา ยาแก้ไอ เหล้าแห้ง ยากันยุง กาว กระท่อม เฮโรอีน แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ของเจ้าหน้าที่ระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจสภาพสังคมและชุมชนที่รับผิดชอบ ไม่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น การกำหนดนโยบายไม่ได้มาจากปัญหาของราษฎรอย่างแท้จริง
เพราะแท้ที่จริงแล้ว "การแก้ไขปัญหาพื้นฐานของชาวบ้านคือการสร้างสันติภาพและเอกภาพของชาติที่ยั่งยืน" เป็นการสร้างทางเลือกให้กับประชาชนคนสามัญ โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความต้องการอุดมการณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องการที่จะดำรงชีวิตร่วมกันโดยปกติสุข มีการเคารพในสิทธิ เสรีภาพซึ่งกันและกันยอมรับในเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ซึ่งกันและกัน
แนวทางนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยตรง แต่จะช่วยคลี่คลายปัญหา ช่วยคลี่คลายความหวาดระแวง และประการสำคัญ ช่วยคลี่คลายความมุ่งมาดปรารถนาของการใช้กำลัง เพราะว่าการใช้กำลังไม่ว่าจากฝ่ายไหนก็ตาม ถ้าขาดเสียซึ่งฐานความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ไม่คิดว่าจะเป็นความยั่งยืน

คลื่นยักษ์สึนามิ

บทนำ นับตั้งแต่เริ่มกำเนิดโลกมา โลกเราได้ประสบกับวิกฤติการณ์ความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงมากมายในปัจจุบันโลกก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จัดเป็นกระบวนการธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหลของพลังงาน โดยเกิดขึ้นทั้งใน บรรยากาศบนผิวโลก พื้นโลก พื้นสมุทร รวมถึงในชีวมณฑล (Biosphere) ด้วย มีตั้งแต่ปรากฏการณ์ที่ไม่รุนแรงและเกิดขึ้นเสมอๆ ไปจนถึงเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติร้ายแรงและเป็น ที่ทราบกันอยู่แล้วว่าภัยธรรมชาติต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินภัยธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่มนุษย์ก็มี ส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยภัยธรรมชาติครั้งล่าสุด ที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม 2541ที่ผ่านมานี้คือเกิด คลื่นยักษ์ใต้น้ำถล่มปาปัวนิวกินีและก็ยังเป็นกระแสข่าวที่สั่นสะเทือนถึงขวัญของชาวไทยภาคใต้ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2541 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงภาวะการท่องเที่ยวในปี Amazing Thailand อีกด้วย เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มปาปัวนิวกินี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา โดยหมู่บ้านกว่า 10 แห่งถูกคลื่นซัดเสียหาย ตั้งแต่คืนวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา มีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 3,000 คน และกว่า 6,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย โดยคลื่นมีความสูงระหว่าง 23 -33 ฟุต เมื่อพุ่งเข้า ปะทะชายฝั่งปาปัวนิวกินี ทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเกิดจากผลของ แผ่นดินไหวใต้น้ำที่มีค่า 7.0 ตามมาตราวัดริกเตอร์สเกล ทำให้เกิด ความเสียหายตาม พื้นที่ชายฝั่งยาวประมาณ 60 ไมล์ (90 กิโลเมตร) สึนามิคืออะไร ? "Tsunami" สึนามิเป็นชื่อคลื่นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยชุดของคลื่นที่มีความยาวคลื่นค่อนข้างมาก และช่วงห่างระยะเวลา ของแต่ละลูกคลื่นยาวนาน เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่งจมตัวลงตรงแนวรอยเลื่อน หรือการที่มวลของน้ำ ถูกกระตุ้นหรือรบกวน โดยการ แทนที่ทางแนวดิ่งของมวลวัตถุ สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวแผ่นดินถล่มการระเบิดและการประทุขอ ภูเขาไฟหรือแม้กระทั่งการกระทบของ อนุภาคขนาดใหญ่เช่น อุกกาบาตสามารถก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้ซึ่ง คลื่นสึนามิสามารถ ทำลายชายฝั่งทะเลเป็นสาเหตุให้เกิดความพินาศเสีย หายต่อทั้งชีวิตและ ทรัพย์สิน "Tsunami" สึนามิเป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "harbor wave" หรือคลื่นที่เข้าสู่อ่าว ฝั่งหรือท่าเรือ โดยที่คำว่า "Tsu" หมายถึง "harbor" อ่าว,ฝั่งหรือท่าเรือ ส่วนคำว่า 'Nami' หมายถึง "คลื่น"ในอดีตนั้นสึนามิ ถูกใช้ในความหมายถึงน้ำท่วม ใหญ่ริมฝั่ง ทะเลเนื่องมาจากแผ่นดินไหว 'tidal waves' ซึ่งเป็นที่ใช้กันอยู่แพร่หลายทั่วไปเช่นเดียวกับคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวในทะเล 'seismic seawave' ซึ่งใช้กันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ คำว่า 'tidal wave' นี้เป็นการเรียกชื่อ คลื่นสึนามิที่ผิด ถึงแม้ว่าผลกระทบที่เกิดจาก คลื่นสึนามิ มีต่อชายฝั่งทะเลนั้นขึ้นกับ ระดับของน้ำขึ้น น้ำลง ยามเมื่อคลื่นสึนามิพุ่งกระแทกสู่ฝั่ง แต่คลื่นสึนามิไม่ได้มีความสัมพันธ์กับระดับของน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งระดับน้ำ นั้นเป็นผลมาจากความไม่สมดุล ผลจาก แรงดึงดูดของดวงจันทร์ พระอาทิตย์และโลกสึนามินั้นไม่ได้เป็น Tidal waves เนื่องจาก กระบวนการของtidal waves ต้องใช้เวลานานนับ ศตวรรษ ในการกัดเซาะทับถมชายฝั่ง แต่คลื่นสึนามินั้นสามารถเปลี่ยนสภาพพื้นที่ ่ชายฝั่งในช่วงเวลาสั้นๆส่วนคำว่า 'seismic sea wave'ก็ทำให้เกิด ความเข้าใจผิด เช่นกัน คำว่า 'seismic' เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ซึ่งมี ความสัมพันธ์ก่อให้เกิดการไหวตัวแต่คลื่นสึนามินั้นสามารถเกิดจากปรากฏการณ์ ที่เป็นNon-seismic อย่างเช่นเกิดแผ่นดินถล่มหรือ ผลจากอุกกาบาตพุ่งชนคลื่นสึนามิไม่ได้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดโดยตรงจากแผ่นดินไหวอย่างเดียว แต่ เป็นปฏิกิริยาเกิดจากการที่แผ่นดินไหวแล้วเกิดแผ่นดินยุบหรือถล่ม หรือก้อนอุกกาบาตพุ่งลงทะเล ทำให้มวลน้ำถูกแทนที่จึงเกิดปฏิกิริยาของแรงต่อ เนื่องทำให้เกิดคลื่นยักษ์ใต้น้ำขึ้น ซึ่งก็คือ คลื่นสึนามิ นั้นเอง ซึ่งก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็น 'Non-seismic sea wave' ได้เช่นกัน คลื่นสึนามิ ที่เรียกว่า Seismic sea wave นั้นเกิดจากกรณีที่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในมหาสมุทรหรือใกล้ชายฝั่งแผ่นดินไหวจะสร้างคลื่นขนาดมหึมา เกิดขึ้นใต้น้ำพลังงานจะแผ่ออกทุกทิศทุกทางจากแหล่งกำเนิดนั่นคือแผ่ออกจากรอบศูนย์กลางบริเวณที่เกิด แผ่นดินไหวนั่นเองคลื่นจะค่อนข้างใหญ่มากเมื่อ เข้าสู่ฝั่งสภาพที่เป็นจริงในทะเลเปิดน้ำลึกจะเห็นคล้ายลูกคลื่นพองวิ่งเลียบไปกับผิวน้ำ ซึ่งเรือยังสามารถแล่นอยู่บนลูกคลื่นนี้ได้แต่เมื่อคลื่นนี้เคลื่อนมาถึง บริเวณน้ำตื้น ใกล้ชายฝั่ง มันจะเคลื่อนโถมเข้าสู่ชายฝั่งบางครั้งสูงถึง 35 m(2,000 ฟุต) ซึ่งคลื่นสึนามินี้เคลื่อนตัวได้เร็วมาก โดยมีความเร็วประมาณ 1,000 กม.ต่อชั่วโมง (630 m/h) การเตือนภัยไม่สามารถ ทำได้ทันเวลา
การตรวจจับคลื่นคลื่นสึนามินั้นกระทำได้ยากมาก เมื่อคลื่นเริ่มเกิดในมหาสมุทรบริเวณที่น้ำลึก คลื่นอาจจะมีความสูงเพียง 10-20 นิ้วเอง ซึ่งดูเหมือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากกว่าการกระเพิ่มขึ้นลงของน้ำในมหาสมุทรเอง
กล่าวโดยรวมแล้วสาเหตุการเกิดคลื่นสึนามินั้น มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น
เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เช่นเหตุการณ์ที่การากาตัว เมื่อปีค.ศ. 1883
เกิดจากแผ่นดินถล่ม เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวซากามิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีคศ. 1933
เกิดจากการที่ก้อนหินตกลงในอ่าวหรือมหาสมุทร เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวลิทูยาอลาสกาเมื่อปีค.ศ.1933
เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วยแรงเทคโทนิคจากแผ่นดินไหว เช่นเหตุการณ์ อลาสกันซูนาม บริเวณอลาสกาในปีค.ศ.1964
การเกิดระเบิดใต้น้ำจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
สึนามิต่างจากคลื่นในท้องทะเลอย่างไร ? สึนามินั้นไม่เหมือนกับคลื่นที่เกิดจากลม ซึ่งเรามักจะสังเกตเห็นคลื่นได้จากในทะเลสาปหรือในท้องทะเลซึ่งคลื่นเหล่านั้นมัก เป็นคลื่นที่ไม่สูงนัก หรือคลื่นที่มีลูกคลื่นตื้น ๆ ประกอบกับมีระลอกและความยาวของคลื่นที่ค่อนข้างยาวต่อเนื่องลมเป็นตัวที่ก่อให้เกิด คลื่นซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่ว ๆไป ตามชายหาด อย่างเช่น หาดบริเวณแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีคลื่นม้วนตัวกลิ้งอยู่เป็นจังหวะต่อเนื่องจากลูก หนึ่งไปสู่อีกลูกหนึ่งซึ่งบางคราวกินเวลาต่อเนื่อง กว่า 10 วินาทีและมีความยาวของลูกคลื่นกว่า 150 เมตรในทางตรงกันข้ามคลื่นสึนามิ มีความยาวคลื่นเกินกว่า100 กม.และช่วงระยะเวลาของระลอกคลื่น ยาวนานกว่า 1 ชั่วโมงซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความยาวของคลื่น ที่มีความยาวมากนั่นเอง
เมื่อคลื่นสึนามิขึ้นฝั่ง ..... เกิดอะไรขึ้น ? คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว จากบริเวณน้ำลึกเข้าสู่บริเวณฝั่ง เมื่อใกล้ฝั่งความเร็วของ คลื่นสึนามิจะลดลง ความสูงของคลื่นจะก่อตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคลื่นสึนามิ ขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิจะโถมขึ้นสู่ฝั่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ความสูงของยอดคลื่นสูงมาก ยิ่งขึ้น เมื่อคลื่นสึนามิเข้าปะทะแผ่นดินพลังงานของมันจะสูญเสียไปเนื่องจากการสะท้อน กลับของคลื่นที่ปะทะชายฝั่งในขณะที่พลังงานของคลื่นที่แผ่เข้าสู่ฝั่งจะถูกทำให้กระจาย พลังงานสู่ด้านล่างและเกิดกระแสหมุนวน ทั้งนี้ทั้งนั้นการสูญเสียพลังงานนี้มิได้ทำให้ คลื่นสึนามิลดความรุนแรงลงมันยังคงเคลื่อนเข้าปะทะฝั่งด้วยพลังงานอย่างมหาศาล คลื่นสึนามิมีพลังงานมหาศาลในการกัดเซาะ พังทลายโดยเฉพาะชายฝั่งหาดทรายที่ปกคลุมด้วยต้นไม้และพืชพันธ์จะถูกน้ำท่วมปกคลุม ระดับน้ำจะสูงขึ้นและการเคลื่อนตัวของน้ำที่รวดเร็วจะปะทะกับบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ คลื่นสึนามินั้นบางครั้งสามารถปะทะฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่10 เมตร 20 เมตร และบางครั้งอาจสูงถึง 30 เมตรได้
เหตุการณ์ที่เกิดคลื่นสึนามิครั้งใหญ่ จากบันทึกประวัติศาสตร์ของคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งทะเลนั้น มีเหตุการณ์สำคัญๆ ดังนี้
1500 ปีก่อนพุทธศักราช Santorin Crete (แถบเมดิเตอร์เรเนียน)
1 พ.ย. 1755 แอตแลนติกตะวันออก
21 ธ.ค. 1812 ซานตาบาบาร่า แคลิฟอร์เนีย
7 พ.ย. 1837 ชิลี
17 พ.ค. 1841 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
2 เม.ย. 1868 ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
13 ส.ค. 1868 เปรู และ ชิลี
10 พ.ค. 1877 ชิลี
27 ส.ค. 1883 การากาตัว (มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน)
15 มิ.ย. 1896 ฮอนชู ญี่ปุ่น (มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 20,000 คน)
31 ม.ค. 1906 เอควาดอร์
28 ธ.ค. 1908 Messine
7 ก.ย. 1918 คูริล
11 พ.ย. 1922 ชิลี
3 ก.พ. 1923 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
18 พ.ย.1929 บริเวณ Grand Banks แคนาดา
2 มี.ค. 1933 ฮอนชู ญี่ปุ่น
1 เม.ย. 1946 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
4 พ.ย. 1952 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
9 มี.ค. 1957 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
23 พ.ค. 1960 บริเวณชายฝั่งชิลี แล้วเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกระยะทางกว่า 17,000 กิโลเมตร ไปสู่ญี่ปุ่นมีผู้สูญหายกว่า 200 คน
28 มี.ค. 1964 Prince William Sound อลาสกา สหรัฐอเมริกา (มีผู้เสียชีวิต 109 คน)
4 ก.พ. 1965 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
29 พ.ย. 1975 ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
3 มิ.ย.1994 บริเวณเกาะชวาตะวันตก อินโดนีเซีย เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดเมื่อเวลา ตี 1.18 นาที (เวลาท้องถิ่นชวา) วันที่ 3 มิถุนายน แผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งชวา ใกล้กับทางด้านตะวันออกของร่องลึกชวาในมหาสมุทรอินเดีย แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด 7.2 - 7.8 ตามมาตราวัดริกเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตมากกว่า 200 ชีวิต และที่พักอาศัยบริเวณชายฝั่งจำนวนมาก โดยทีมสำรวจสึนามิระหว่างชาติ ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านซุนามิและวิศวกร ซึ่งมาจากอินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น ไทย และสหรัฐอเมริกา ได้เข้าสำรวจพื้นที่ของบาหลีและชวา ช่วงวันที่ 20-25 มิถุนายน 1994 ทีมสำรวจชุดนี้ได้พบว่า คลื่นสึนามิที่เข้าสู่ฝั่งชวา มีความสูงตั้งแต่ 1 -14 เมตร ในขณะที่บาหลีมีความสูงตั้งแต่ 1-5 เมตร
21 ก.พ.1996 บริเวณเปรู เป็นผลจากแผ่นดินไหวใต้น้ำ
17 ก.ค.1998 บริเวณเกาะปาปัวนิวกินี (มีผู้เสียชีวิต 3,000 คน)
บริเวณที่มักเกิดคลื่นสึนามิและเหตุการณ์ที่เกิดคลื่นสึนามิครั้งใหญ่ คลื่นสึนามินั้นสามารถเกิดขึ้นในภูมิภาคหรือในบริเวณมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล ขึ้นอยู่กับขนาดของคลื่นและบริเวณ ที่เกิด ซึ่งคลื่นสึนามิเป็น ปรากฏการณ์ที่มักเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเนื่องจากในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเขตที่มีแนวของการเกิด แผ่นดินไหวและภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอยู่มาก จุดกำเนิดสำคัญของคลื่นสึนามิในแปซิฟิกก็คือบริเวณร่องลึกก้นสมุทร นอกชายฝั่งอลาสกา หมู่เกาะคูริล รัสเซียและทวีปอเมริกาใต้โดยเฉพาะในเขตแปซิฟิค ตอนกลาง (mid-pacific) บริเวณหมู่เกาะฮาวายมักจะประสบกับคลื่น สึนามิบ่อยครั้ง ร้อยละ 80 ของคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะอยู่ในบริเวณ Pacific Seismic Belt ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดคลื่น ซึ่งในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกมีโอกาสเสี่ยงที่มากกว่าในบริเวณอื่นๆ มหาสมุทรแปซิฟิกกินพื้นที่ถึงกว่า 1 ใน 3 ของผิวโลกแล้วล้อม รอบด้วยร่องน้ำลึก ก้นสมุทร อันเกิดจากแผ่นดินโลกมุดตัว บวกกับถูกกระหนาบด้วยแนวโค้งของหมู่เกาะภูเขาไฟอีก

ระบบเตือนภัยสึนามิ (TSUNAMI WARNING SYSTEM : TWS) โครงการระบบเตือนภัยกับสึนามิ ประกอบไปด้วย สมาชิกจาก 26 ชาติซึ่งมีภารกิจในการติดตามตรวจสอบคลื่นแผ่นดิน ไหวและสถานีวัดระดับน้ำทะเลในบริเวณเขตแปซิฟิก เพื่อใช้ประเมินศักยภาพการเกิดคลื่นสึนามิและใช้สำหรับให้ข้อมูลข่าวสาร เตือนภัยเรื่องสึนามิ โดยมีศูนย์เตือนภัยสึนามิภาคพื้นแปซิฟิก (PTWC) เป็นศูนย์ปฏิบัติงานด้านสึนามิในเขตแปซิฟิกตั้งอยู่ใกล้ ฮอนโนลูลู ฮาวาย - ศูนย์เตือนภัยสึนามิ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความช่วยเหลือระหว่างชาติในการช่วยรักษาชีวิตและปกป้องทรัพย์สินซึ่งหน่วยงาน NOAA และหน่วยงาน ให้บริการข้อมูลอากาศระหว่างชาติดำเนินการรับผิดชอบ 2 ศูนย์ คือ - ศูนย์เตือนภัยสึนามิอลาสกา (ATWC) ใน PALMER, อลาสกา ครอบคลุมเขตรับผิดชอบแถบอลาสกา บริติช โคลัมเบีย วอชิงตัน โอเรกอนและแคลิฟอร์เนีย - ศูนย์เตือนภัยสึนามิเขตแปซิฟิก ใน EWA BEACH, ฮาวาย ครอบคลุมบริเวณฮาวายและแปซิฟิก เนื่องจากความสูงของคลื่นสึนามิเพียงเล็กน้อยในขณะที่เคลื่อนตัวในน้ำลึก ระบบที่ใช้ตรวจจับคลื่นยักษ์นี้ยังไม่ได้ถูกพัฒนา เท่าที่ควรศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกในฮาวายเป็นศูนย์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารในยานแปซิฟิก ซึ่งจะมีแถลงการณ์ที่ออกประกาศถึงการเกิด คลื่นสึนามิ 2 แบบคือ การเฝ้าระวังและการเตือนภัย การแถลงข่าวการเฝ้าระวังเรื่องสึนามิจะออกอากาศเมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้นขนาด 6.75 ตามมาตราวัดริคเตอร์ หรือมากกว่านั้น ส่วนการแถลงการณ์ เตือนภัยนั้นจะกระทำต่อเมื่อได้ข้อมูลจากสถานีวัดระดับน้ำ ซึ่งบ่งชี้ ถึงศักยภาพที่สามารถก่อให้เกิดสึนามิได้ สถานีวัดระดับน้ำจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ น้ำรอบ ๆ สถานี และจะประกาศเตือนเมื่อ คุณสมบัติของข้อมูลตรงกับศักยภาพของการเกิดคลื่นสึนามิ แต่ช่างโชคไม่ดีที่ระบบนั้นไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ จากสถิติ ร้อยละ 75ของการ เตือนภัยทั้งหมดตั้งแต่ปี 1948 เป็นต้นมานั้นผิดพลาด ดังตัวอย่างเหตุการณ์ปี 1948 ที่ฮอนโนลูลูซึ่งมีประกาศเตือนภัยทำให้ต้องอพยพผู้คนซึ่งเป็นการเตือนภัยที่ผิดพลาด เนื่องจากเหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ทำให้สิ้นค่าใช้จ่ายกว่า 30 ล้านดอลล่าร์
การบรรเทาภัยคลื่นสึนามิ โดยทั่วไปแล้ว เมื่อคลื่นสึนามิจะพุ่งเข้าสู่ฝั่งมาหาคุณ พื้นแผ่นดินจะสั่นสะเทือนโดยรู้สึกได้ใต้เท้าของคุณหรือคุณอาจได้รับ คำเตือน แจ้งให้ผู้คนวิ่งหา พื้นที่ๆ สูง เพื่อที่ให้ทราบถึงวิธีการปกป้องตัวเองจากคลื่นสึนามินั้น หัวข้อต่าง ๆ ที่พึงทราบมีดังต่อไปนี้ - ต้องทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ - หากเกิดคลื่นสึนามิขึ้น จะมีวิธีการบรรเทาภัยอย่างไร กรณีที่อยู่บนพื้นดินและอยู่บนเรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสึนามิ สรุปได้ดังต่อไปนี้ - คลื่นสึนามิจะเข้าปะทะฝั่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกและมักจะเกิดจากแผ่นดินไหวโดยที่แผ่นดินไหวบางครั้งเกิดไกลหรือใกล้ จากบริเวณที่ผู้คนพักอาศัย - คลื่นสึนามิบางครั้งจะใหญ่มาก ในบริเวณชายฝั่ง คลื่นอาจมีความสูงถึง 30 ฟุตหรือมากกว่า (บางครั้งอาจเกินกว่า 100 ฟุต) และเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่งได้ไกลหลายร้อยฟุต - ชายฝั่งที่มีพื้นลาดต่ำสามารถถูกคลื่นสึนามิพัดถล่มได้ง่าย - คลื่นสึนามิประกอบด้วยคลื่นหลายๆ คลื่น รวมเป็นชุดของคลื่น ซึ่งคลื่นลูกแรกนั้น มีบ่อยครั้งที่มักจะไม่ใช่ลูกที่ใหญ่ที่สุด - คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนตัวได้เร็วกว่าคนวิ่ง - บางครั้งคลื่นสึนามิเป็นสาเหตุให้กระแสน้ำบริเวณชายฝั่งถดถอยหรือถอยร่นไป แล้วไปโผล่ที่พื้นสมุทร - แรงกระทำที่คลื่นสึนามิกระทำนั้นค่อนข้างรุนแรง หินก้อนใหญ่ๆ อาจถูกคลื่นสึนามิหอบขึ้นมาทับเรือหรือแม้แต่เศษซากปรักหักพังอื่นๆ สามารถเคลื่อนย้ายเข้าสู่ฝั่งไปได้เป็นระยะหลายร้อยฟุตโดยการกระทำของคลื่นสึนามิ บ้านเรือนหรือตึกรามบ้านช่องอาจถูกทำลาย ซึ่งเศษวัตถุต่างๆ และมวลน้ำเคลื่อนตัวด้วยแรงมหาศาล และสามารถทำให้ผู้คนบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ - คลื่นสึนามิเกิดได้ทุกเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน - คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนตัวสู่แม่น้ำที่เชื่อมต่อทะเลและมหาสมุทรได้ หากคุณอยู่บนแผ่นดิน - ให้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งนี้จะสามารถช่วยชีวิตได้และบอกกล่าวเรื่องราวนี้ต่อไปถึงญาติมิตรหรือเพื่อนพ้องของคุณ ซึ่งจะช่วยชีวิตพวกเขาได้ - หากได้รับสัญญาณเตือนภัยข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ควรเคลื่อนย้ายครอบครัวและตัวคุณออกจากพื้นที่ที่เสี่ยงภัย และปฏิบัติตามคำ แนะนำของเจ้าหน้าที่ - หากอยู่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูงเพื่อหลบภัยทันทีและให้อยู่ห่างจากแม่น้ำหรือคลองที่ ต่อเชื่อมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร - หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรที่ห่างไกล ก็มีเวลาเพียงพอที่จะหาบริเวณที่สูงสำหรับหลบภัยได้ แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นประจำในท้องถิ่น เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหว ก็จะมีเวลาเพียง 2 -3 นาทีเท่านั้นสำหรับหาที่หลบภัยได้ - สำหรับตึกสูง หลายชั้นและ มีโครงสร้างเสริมความแข็งแรง ชั้นบนของตึกสามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามิได้ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอในการหาที่สูงหลบภัย หากอยู่บนเรือ - หากคลื่นซุนามิกำลังโถมเข้าปะทะฝั่ง ควรจะถอยเรือห่างจากฝั่งไปยังบริเวณพื้นที่น้ำลึกเนื่องจากคลื่นสึนามิจะทำให้ระดับน้ำบริเวณ ใกล้ฝั่งหรือท่าเรือเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
บทส่งท้าย ภัยธรรมชาติต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติโดยความเป็นจริงแล้วภัยพิบัติจำนวนมากมีสาเหตุมาจาก สภาพลมฟ้าอากาศที่แปรปรวนซึ่งยังความเสียหายต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินอย่างมหาศาล ภัยที่เกิด จากธรรมชาติเหล่านี้ได้แก่วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม คลื่นพายุซัดฝั่ง เป็นต้น แต่มนุษย์เราก็มี ส่วนร่วมมีบทบาทเกี่ยวข้องอยู่ด้วยถึงกระนั้นก็ตามภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแล้วได้นำความสูญเสียทั้งแก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และของประเทศเป็นอันมาก จึงควรที่ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมกันช่วยเหลือในการ หาความรู้และระดมความคิดเพื่อวางแผนป้องกัน แก้ไขและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ส่งผลกระทบน้อยลง ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแต่ละปีทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตอย่างมากมาย ทั้งๆที่วิทยาการสมัยใหม่ในยุคปัจจุบัน ได้เจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว แต่มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้และมักเชื่อกันว่า ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในขณะที่มนุษย์ไม่อาจยับยั้งภัยพิบัติธรรมชาติได้ แต่สิ่งที่เราสามารถกระทำได้คือ การบรรเทาความสูญเสียให้น้อยที่สุดอันเนื่องมาจากธรรมชาติเหล่านี้ ซึ่งต้องอาศัยการพยากรณ์ที่แม่นยำและการเตือนภัยที่มีประสิทธิ ภาพเพียงพอ มาตรการการป้องกันและเตรียมพร้อม พร้อมทั้งความร่วมมือจากทุกฝ่าย แม้มนุษย์จะไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดคลื่นสึนามิได้ แต่ก็สามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้หากมีการเตรียมพร้อมกับ มือที่ดีดังนั้นความไม่ประมาทและการเตรียมพร้อมจึงเป็นเรื่องดีและไม่ก่อให้เกิดผลเสียด้านการท่องเที่ยวหากมีการไห้ความรู้แก่ประชาชน อย่างถูกต้องมิใช่ให้ข้อมูลแต่เพียงบางด้านหรือให้ไม่ครบถ้วนซึ่งอาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่สาธารณชนได้ สำหรับคลื่นสึนามินั้นการเตือนภัยคลื่นสึนามิล่วงหน้านั้นทำได้ยากกว่าการตรวจจับแผ่นดินไหวซึ่งเป็นสาเหตุของมันนักวิทยาศาสตร์มักทำได้แค่ชี้ว่าตรงไหนมีโอกาสจะเกิดคลื่นสึนามิได้บ้าง โดยดูตามประวัติที่มีบันทึกไว้ และกว่าจะระบุได้ว่าเจ้าคลื่นยักษ์ใต้ สมุทรนี้ มีความเร็วสักเท่าไร ก็ต้องรอตรวจจับแผ่นดินไหวได้ก่อนเป็นลำดับแรก ฉะนั้นหากเกิดแผ่นดินไหวใกล้แผ่นดินอย่างในกรณีที่ เพิ่งอุบัติขึ้นที่นิวกินี คลื่นสึนามิก็จะพุ่งเข้าถล่มชายฝั่งในเวลาแค่ไม่กี่วินาทีให้หลังจึงเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะหนีทันวิธีสังเกตขณะคลื่นสึนามิ กำลังจะเข้าสู่ฝั่งคือเมื่อระดับน้ำที่ชายหาดลดต่ำกว่าระดับน้ำลงต่ำสุดตามปกติเป็นอย่างมากจนมองเห็นแนวชายฝั่งออกไปได้ไกล ผิดหูผิดตา หากรู้สึกว่าแผ่นดินไหวหรือพื้นดินสั่น สะเทือนขณะอยู่ใกล้ชายหาด จงวิ่งสุดฝีเท้าย้อนขึ้นไปให้ไกลจากน้ำทะเลที่สุดเท่าที่จะ ไปไหว

พบดวงจันทร์ใหม่ของดาวเสาร์ 4 ดวง

ทีมนักดาราศาสตร์จากนานาประเทศ ได้รายงานเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า ได้พบดวงจันทร์ของดาวเสาร์เพิ่มขึ้นอีก 4 ดวง ทำให้ดาวเสาร์กลับมาครองตำแหน่ง ดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์มากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง
ดวงจันทร์ที่เพิ่งพบใหม่ทั้ง 4 ดวงนี้ ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกเกือบทั่วโลก ประกอบด้วยกล้อง 2.2 เมตรของอีเอสโอในชิลี กล้องแคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย ขนาด 3.5 เมตรในฮาวาย กล้องเอ็มดีเอ็ม ขนาด 2.4 เมตรในแอริโซนากล้อง 1.5 เมตร ของหอสังเกตการณ์สจวร์ตในแอริโซนา และกล้องเอ็นทีทีของอีเอสโอในชิลี
นักดาราศาสตร์คณะนี้กล่าวว่า ขณะนี้เรามีรายละเอียดของดวงจันทร์เหล่านี้น้อยมาก ทราบเพียงความสว่างเท่านั้นที่วัดได้ แต่ยังไม่ทราบวงโคจร หรือแม้แต่ทิศทางการโคจรว่ามันโคจรเดินหน้าหรือถอยหลัง จากการประเมินความสว่างของมัน คาดว่ามันมีขนาดตั้งแต่ 10 ถึง 50 กิโลเมตรและโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์ตั้งแต่ 10-20 ล้านกิโลเมตร แต่อย่างน้อยก็มั่นใจได้ว่ามันไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางอย่างแน่นอน นักดาราศาสตร์จะต้องสำรวจต่อไปอีกระยะหนึ่งจึงจะคำนวณวงโคจรที่แน่นอนได้
ดวงจันทร์ทั้งสี่นี้ได้ชื่อชั่วคราวเป็น S/2000 S1, S/2000 S2, S/2000 S3 และ S/2000 S4 ส่วนชื่อสามัญซึ่งโดยธรรมเนียมปฏิบัติจะเป็นชื่อจากเทพปกรณัมนั้นคาดว่าจะได้มาในเร็วๆ นี้ นอกจากดวงจันทร์ใหม่ที่ยืนยันแล้วทั้งสี่ดวงนี้ นักสำรวจคณะนี้ยังพบวัตถุอื่นอีกที่คาดว่าอาจจะเป็นดวงจันทร์ดวงใหม่ของดวงจันทร์ด้วยเช่นกัน

ประวัติการค้นพบดวงจันทร์ต่างๆ ของสุริยจักรวาล

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า ในคืนวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2153 (รัชสมัยของพระเอกาทศรถ) Galilei Galileo แห่งมหาวิทยาลัย Padua ในประเทศอิตาลี ได้เห็นจุดสว่างขนาดเล็ก 3 จุดปรากฎอยู่ ใกล้ๆ ผิวดาวพฤหัสบดี โดยมี 2 จุดอยู่ทางทิศตะวันออก และอีกจุดหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก Galileo คิดว่า มันเป็นดาวฤกษ์ แต่ในคืนต่อมา เขาก็เห็นว่าจุดสว่างทั้งสามจุดนั้น ได้มาเรียงตัวกันอยู่ทางทิศตะวันตกหมด และอีกสองคืนต่อมา เขากลับเห็นจุดสว่างเพียง 2 จุดเท่านั้นเอง อยู่ทางทิศตะวันออก ของดาวพฤหัสบดี Galileo จึงตระหนักได้ว่าจุดสว่างที่เขาเห็นนั้นคือ เหล่าดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหสับดี ในทำนองเดียวกัน กับการมีดวงจันทร์ที่เราคุ้นเคย เป็นบริวารของโลก การเฝ้าติดตามดูอย่างพินิจพิจารณา ในเวลาต่อมาทำให้ Galileo พบดวงจันทร์บริวาร ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นอีก 1 ดวง Galileo จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่เห็นดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ ที่ไม่ใช่โลก และเพราะเทพเจ้าประจำดาวพฤหัสบดี ชื่อ Jupiter มีชู้รัก 4 คนชื่อ Europa, Io, Ganymede และ Callisto Galileo จึงตั้งชื่อดวงจันทร์ทั้ง 4 ตามชื่อของเทพธิดาเหล่านี้
การค้นพบดวงจันทร์บริวารในสุริยจักรวาลเพิ่มเติม ต้องใช้เวลาอีก 45 ปี จึงประสบความสำเร็จเพราะเทคโนโลยีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ สำหรับใช้สังเกตก้าวหน้าช้า แต่ในปี พ.ศ. 2198 (รัชสมัยพระสุธรรมราชา) Christiaan Huygens นักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ ก็ได้เห็นดวงจันทร์ชื่อ Titan ของดาวเสาร์ กล้องโทรทรรศน์ของ Huygens มีเลนส์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 2 นิ้ว จึงมีสมรรถภาพในการดูสูงกว่ากล้องที่ Galileo ใช้ นอกจากการเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์แล้ว Huygens ยังเป็นบุคคลแรกที่ได้พบว่า ดาวเสาร์มีวงแหวนล้อมรอบด้วย
ในสมัยนั้น Huygens มีนักดาราศาสตร์คู่แข่งคนสำคัญ คือ Giovanni Domenico Cassini ชาวอิตาเลียน เพราะ Cassini เป็นบุคคลที่พบดวงจันทร์ที่ชื่อ Iapetus, Rhea, Tethys และDione ของดาวเสาร์ในปี พ.ศ. 2127 (รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช) โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีความยาวถึง 35 เมตร และด้วยกล้องโทรทรรศน์กล้องนี้ Cassini ยังได้เห็นช่องว่างระหว่างวงแหวนของดาวเสาร์ด้วย ซึ่งทุกวันนี้มีชื่อเรียกว่า Cassini Division
เทคโนโลยีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ได้พัฒนาไปมาก เมื่อ Wiliam Herschel นักดาราสาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงขึ้น โดยใช้กระจกเว้าที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 7 นิ้ว สำหรับสะท้อนแสง และด้วยกล้องโทรทรรศน์นี้ เขาก็พบดาวเคราะห์ Uranus ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2324 (รัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช) และอีก 6 ปีต่อมา Herschel ก็ได้พัฒนากล้องให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นไปอีก และได้พบดวงจันทร์ชื่อ Oberon กับ Titania ของดาว Uranus ถึงแม้ปี พ.ศ. 2332 จะมีปฏิวัตินองเลือดครั้งใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส แต่ Herschel ก็ยังคงค้นหาดวงจันทร์ต่อไปตามปกติ จนพบดวงจันทร์ของดาว Uranus เพิ่มอีก 2 ดวงคือ Enceladus และ Mimas (ในรัชสมัยของพระพุทธยอดฟ้ามหาราช)
ในปี 2379 ชาวโลกได้ตื่นเต้นกับข่าวการพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ชื่อ Neptune โดย Urbain Le Verrier นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน William Lassell พ่อค้าเบียร์ชาวอังกฤษที่สนใจดาราศาสตร์มาก ก็ได้เห็นดวงจันทร์ Triton ของดาว Neptune (รัชสมัยพระนั่งเกล้า) และเขายังได้พบดวงจันทร์ชื่อ Hyperion ของดาวเสาร์และดวงจันทร์ชื่อ Ariel กับ Umbriel ของดาว Uranus ด้วย ในอีก 3 ปีต่อมา
ในสมัยนั้น ดาวอังคารนับเป็นดาวเคราะห์ที่มนุษย์รู้จักดีดวงหนึ่ง แต่ก็ไม่มีใครเห็นดวงจันทร์บริวารของมันเลย ทั้งๆ ที่ โลก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาว Uranus ดาว Neptune ต่างก็มีบริวารกันทั้งสิ้น เมื่อวงการดาราศาสตร์ โจษจันประเด็นความไม่สมบูรณ์นี้กันอย่างกว้างขวาง Asaph Hall นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน จึงได้ตั้งปณิธานจะค้นหาดวงจันทร์ของดาวอังคาร และด้วยแรงสนับสนุนจากภรรยา เขาได้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 26 นิ้ว ที่หอดูดาว Naval Observatory ในกรุง Washington ส่องดูดาวอังคาร ในปี พ.ศ. 2460 ซึ่งเป็นเวลาที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกมากที่สุด และเขาก็ได้เห็นดวงจันทร์ชื่อ Deimos ในวันที่ 11 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2420 (รัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และอีก 6 วันต่อมา เขาก็ได้เห็น Phobos ซึ่งเป็นดวงจันทร์ดวงที่สองของดาวอังคาร
โลกต้องคอยอีกนานถึง 282 ปี จึงจะพบว่า ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์เป็นบริวารมากกว่า 4 ดวง เพราะในปี พ.ศ. 2435 Edward Emerson Barnard นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้พบ Amalthea ซึ่งเป็นดวงจันทร์ดวงที่ 5 ของดาวพฤหัสบดี โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 36 นิ้ว ที่หอดูดาว Lick ใน California และนี่คือดวงจันทร์ดวงสุดท้ายของดาวพฤหัสบดีที่มีมนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เพราะเหตุว่าดวงจันทร์ตามปกติมีขนาดเล็ก และสุกสว่างน้อย การอยู่ไกลทำให้มองเห็นได้ยาก ดังนั้นเทคนิคการค้นหาดวงจันทร์จึงต้องปรับเปลี่ยนไปใช้ฟิล์มถ่ายรูปแทน ทั้งนี้ เพราะฟิล์มถ่ายภาพสามารถสะสมแสงจากดวงจันทร์ได้มาก จนเพียงพอสำหรับการล้างฟิล์มเป็นภาพได้ และนี่คือเทคนิคที่ William Pickering นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันใช้ ในการพบดวงจันทร์ชื่อ Phoebe ของดาวเสาร์ในปี พ.ศ. 2441 (รัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และหลังจากที่ Pickering พบ Phoebe แล้ว นักดาราศาสตร์ก็ได้หันมาใช้เทคนิคถ่ายภาพในการค้นหาดวงจันทร์มากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2447 Charies Dillon Perrine นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน พบดวงจันทร์ชื่อ Himalia และ Elara ของดาวพฤหัสบดี และอีก 3 ปีต่อมา P.J. Melotte ชาวอังกฤษก็ได้เห็นดวงจันทร์ชื่อ Pasiphae ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มเติม
ความสำเร็จของ Perrine ได้ชักนำให้ Seth Nicholson นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน หันมาสนใจค้นหาดวงจันทร์ในระบบสุริยจักรวาลอย่างจริงจัง จนทำให้เขาได้พบดวงจันทร์ชื่อ Sinope, Lysithea, Carme และ Ananke ในระหว่างปี พ.ศ. 2457-2458 และในอีก 33 ปีต่อมา เขาก็ได้พบว่าดวงจันทร์ Titan ของดาวเสาร์มีบรรยากาศที่หนาแน่นยิ่งกว่าโลก และในเวลาไล่เลี่ยกัน Gerard kuiper นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ก็ได้เห็นดวงจันทร์ชื่อ Miranda ของดาวเคราะห์ Uranus และเห็นดวงจันทร์ชื่อ Nereid ของดาว Neptune ด้วย
ถึงแม้ในช่วงเวลา 100 ปีที่ผ่านมานี้ จะมีการพบดวงจันทร์ใหญ่น้อยอีกมากมาย แต่วงการดาราศาสตร์ก็ถือว่า การพบดวงจันทร์ชื่อ Charon ของดาว Pluto เป็นการพบครั้งยิ่งใหญ่ เพราะในปี พ.ศ. 2521 James Christy นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน แห่งหอดูดาว Naval Observatory ได้เห็นดวงจันทร์ของ Pluto ซึ่งก็ได้ทำให้ทุกคนงุนงง เพราะไม่คิดว่าดาว Pluto ซึ่งมีขนาดเล็กจะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดให้ Charon โคจรรอบมันได้
ศักราชใหม่แห่งการค้นหาดวงจันทร์ของสุริยจักวาล ได้เริ่มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2522 เมื่อยานอวกาศ Voyager I เห็นดวงจันทร์ Thebe ของดาวพฤหัสบดี และเห็นดวงจันทร์ชื่อ Pandora, Promotheus กับ Atlas ของดาวเสาร์ และในปี 2523 ยาน Voyager II ที่ NASA ส่งตามยาน Voyager I ก็ได้รายงานพบดวงจันทร์ชื่อ Metis และ Adrastea ของดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ชื่อ Pan ของดาวเสาร์กับดวงจันทร์ของดาว Uranus อีก 10 ดวงชื่อ Puck, Portia, Juliet, Cressida, Rosalind, Belinda, Desdemona, Cordelia, Oppelia และ Biance นอกจากนี้ Voyager ll ยังได้เห็นดวงจันทร์บริวารของดาว Neptune เพิ่มอีก 6 ดวง
ณ วันนี้ สถิติจำนวนดวงจันทร์ที่ดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในสุริยจักรวาลมีเป็นดังนี้ ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์ ดาวศุกร์ก็ไม่มีดวงจันทร์ โลกมีดวงจันทร์ 1 ดวง ดาวอังคารมีดวงจันทร์ 2 ดวง ดวงพฤหัสบดี มีดวงจันทร์ 61 ดวง ดาวเสาร์มีดวงจันทร์ 31 ดวง ดาว Uranus มีดวงจันทร์ 22 ดวง ดาว Neptune มีดวงจันทร์ 11 ดวง และดาว Pluto มีดวงจันทร์ 1 ดวง รวมเป็นดวงจันทร์ 129 ดวง
การพบดวงจันทร์ได้เพิ่มสถิติความสำเร็จมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2542-2546 นี้ เพราะนักดาราศาสตร์ใช้เทคนิค digital light detector และ computer ทำให้พบดวงจันทร์เพิ่ม 65 ดวง จาก 64 ดวงที่เคยพบมาก่อนปี 2542 และนักดาราศาสตร์ก็รู้ดีว่า ในอนาคต เขาจะพบดวงจันทร์จำนวนมากกว่านี้อีกมาก

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง